วันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2552

ทุนวัฒนธรรม โดย ศ.รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์

By drnakamon






ช่วงนี้รัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐ รวมไปถึงสถาบันการศึกษาเกือบจะทุกระดับชั้นได้รับกระแสทุนวัฒนธรรม เศรษฐกิจสร้างสรรค์ มากมาย มีข้อเขียนของ ศ.รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ มีนัยสอดคล้องและเป็นสิ่งที่น่าศึกษาอย่างยิ่ง



ข้อเขียนที่เน้นทุนวัฒนธรรมของอาจารย์น่าสนใจมาก มีเนื้อหาบางส่วนที่น่าศึกษา ดังนี้



.......วัฒนธรรมในระบบทุนนิยมโลก ว่าด้วยบทสังเคราะห์ทุนวัฒนธรรม วัฒนธรรมโลก สื่อมวลชน อาหารการกิน แฟชั่นและสันทนาการ ภาพยนตร์และดนตรี



ทุนวัฒนธรรม โดย ศ.รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ แนวความคิดของผู้เขียนว่าด้วยทุนวัฒนธรรม ซึ่งเริ่มก่อเกิดในปี 2536 ภายหลังจากที่ศึกษาและสังเกตพัฒนาการของระบบทุนนิยมโลกและระบบเศรษฐกิจไทย



โดยที่ผู้เขียนเชื่อว่า กลุ่มทุนวัฒนธรรม เป็นกลุ่มที่กำลังถีบตัวขึ้นมามีความสำคัญในสังคมโลกยุคปัจจุบัน และจะยังคงทรงอิทธิพลต่อไปในอนาคต อิทธิพลของรูดอล์ฟ ฮิลเฟอร์ดิง (Rudolp Hilferding, 1877-1941) มีต่อแนวความคิดเรื่องนี้อย่างปราศจากข้อกังขาหากปราศจาก Finance Capital (1910) การนำเสนอและพัฒนาแนวความคิดว่าด้วย ทุนวัฒนธรรม ยากที่จะเป็นไปได้



"...ด้วยเหตุที่วัฒนธรรมเป็นเรื่องของการดำเนินชีวิตตามปกติของมนุษย์ กระบวนการยอมรับแบบแผนการดำรงชีวิตและพฤติกรรมใดๆจนเป็นวิถีแห่งชีวิต จึงเป็นปมเงื่อนสำคัญในการทำความเข้าใจกระบวนการแปรวัฒนธรรมเป็นสินค้า..." (น. 18)



เราอาจจะเข้าใจเรื่องการพนันกับสินค้าวัฒนธรรมอย่างฟุตบอลมากขึ้นจากหนังสือเล่มน้อยๆนี้บ้างไม่มากก็น้อย



หนังสือเล่มนี้ให้คำอธิบายเชิงเศรษฐศาสตร์ถึงที่มาที่ไปด้านการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตในระบบทุนนิยม การพัฒนาทุนในโลก และการเปลี่ยนไปเป็นทุนวัฒนธรรม รวมทั้งลักษณะของทุนวัฒนธรรม



อ่านแล้วฟังยากแท้



เอาเป็นว่าเรามีพัฒนการจากการเกษตร มาเป็นอุตสาหกรรมการผลิตสินค้า แล้วตอนนี้ทุนนิยมเริ่มหาทางออกใหม่แล้ว ด้วยการเอาวัฒนธรรมเข้ามาแฝงไว้ในตัวสินค้า



ตัวอย่างง่ายๆคือเรื่องเพลง เรื่องภาพยนตร์ เรื่องอาหารการกิน (ร้านอาหารญี่ปุ่น เวียดนาม ร้านส้มตำ ฯลฯ) การแต่งกาย กีฬา (Football) ศิลปะ วรรณกรรม (Lord of the Rings, Harry Potter)



อุตสาหกรรมสินค้าสารพัดอย่างได้ประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอุตสาหกรรมผลิตเครื่องรับและอุปกรณ์ทีวี วิทยุ รวมทั้งคอมพิวเตอร์ ยังมีเรื่องอุปกรณ์กีฬา เสื้อผ้า รวมทั้งเกม คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ



สรุปง่ายๆว่า ทุนวัฒนธรรมมีลักษณะสำคัญคือ



มีนัยทางวัฒนธรรม
เป็นทั้งอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ
มีการผูกขาดในระดับหนึ่ง
สร้างความเข้มแข็ง ด้วยการควบและครอบกิจการ
ลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา (R & D)
พยายามสร้างอุปสงค์ที่มีต่อสินค้าตลอดเวลา
บริษัทข้ามชาติมักจะร่วมทุนกับกลุ่มทุนท้องถิ่น



นอกจากนี้ตอนท้ายของหนังสือก็ได้ชี้ให้เห็นถึงอิทธิพลของการค้า เทคโนโลยี และทีวีที่ทำให้เจ้าสินค้าวัฒนธรรมแพร่หลายไปทั่วโลกได้ รวมท้งโครงสร้างการผลิตที่เปลี่ยนจากโรงงานมาเป็นอุตสาหกรรมบริการกันมากขึ้นทุกวันๆ



ปาฐกถานี้ต้องการชี้ให้เห็นว่า ทุนหลัก (Dominant Capital) ย่อมแปรเปลี่ยนไปตามการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตในสังคมเศรษฐกิจโลก เมื่อสังคมมนุษย์ผ่านพ้นช่วงแห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) และสังคมเศรษฐกิจแปรจากระบบเศรษฐกิจเกษตรกรรม (Agri-cultural Economy) มาเป็นระบบเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(Industrial Economy) ทุนอุตสาหกรรม (Industrial Capital) ย่อมถีบตัวขึ้นมาเป็นทุนหลักของระบบเศรษฐกิจ



ด้วยตรรกะในทำนองเดียวกัน เมื่อสังคมเศรษฐกิจแปรเปลี่ยนเป็นระบบเศรษฐกิจบริการ (Service Economy) ทุนบริการ(Service Capital) ก็จะกลายเป็นทุนหลักแทนที่ทุนอุตสาห-กรรม



แต่โดยเหตุที่บริการประเภทต่างๆ มีการเติบโตกล้าแข็งแตกต่างกันอย่างมาก และหน่อทุนบริการบางประเภทยังไม่ปรากฏโฉมให้เห็น



ด้วยเหตุดังนี้เอง นักวิเคราะห์สังคมบางท่านจึงมองเห็นแต่การเติบโตของบริการทางการเงินการธนาคาร และมองเห็นแต่การเติบใหญ่ของทุนการเงิน (Finance Capital) ซึ่งเข้าไปแทนที่ทุนอุตสาหกรรม



ปาฐกถานี้ต้องการชี้ให้เห็นว่า ทุนบริการกำลังถีบตัวขึ้นมาเป็นทุนหลักในสังคมเศรษฐกิจโลกแทนที่ทุนอุตสาหกรรม แต่ในระยะเปลี่ยนผ่านที่หน่อทุนบริการยังไม่เติบใหญ่กล้าแข็ง ทุนวัฒนธรรม (Cultural Cap-ital) เป็นทุนหลักในระยะเปลี่ยนผ่านนี้ โดยที่ทุนวัฒนธรรมมีขาหยั่งทั้งในภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ


ในการที่จะเข้าใจการเติบโตของทุนวัฒนธรรม จำเป็นต้องเข้าใจเบื้องต้นเสียก่อนว่าทุนวัฒนธรรมคืออะไร ทุนวัฒนธรรมจะเติบใหญ่ได้ก็ต้องมีอุตสาหกรรมสินค้าวัฒนธรรม (Cultural Products)



ในที่นี้สินค้าวัฒนธรรม หมายถึงสินค้าและบริการที่มีวัฒนธรรมฝังตัวเป็นส่วนหนึ่งของสินค้าหรือบริการนั้น การทำความเข้าใจเกี่ยวกับการฝังตัวของวัฒน-ธรรม (Cultural Embodiment) ในตัวสินค้าหรือบริการ



หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง วัฒนธรรมที่ฝังอยู่ในตัวสินค้าหรือบริการ (Embodied Culture) จึงเป็นปมเงื่อนสำคัญในการวิเคราะห์



อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์การเติบโตของทุนวัฒนธรรมมิอาจแยกต่างหากจากการศึกษาการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตและพัฒนาการของทุนหลักในระบบทุนนิยมโลก l การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตในระบบทุนนิยมโลก l การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในสังคมโลกนั้นมีอยู่ตลอดเวลา



แต่ไม่มีช่วงใดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติที่สังคมเศรษฐกิจโลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเทียบเท่าช่วงเวลาในรอบสามทศวรรษที่ผ่านมานี้



ณ บัดนี้ ระบบเศรษฐกิจโลกมิได้มีการเปลี่ยนแปลงเฉพาะแต่โครงสร้างทางเศรษฐกิจเท่านั้น หากยังมีการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานทางเศรษฐกิจอย่างสำคัญด้วย เมื่ออังกฤษประสบความสำเร็จในการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรก (First Industrial Revolution)


ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 โครงสร้างทางเศรษฐกิจของอังกฤษเปลี่ยนจากระบบเศรษฐกิจเกษตรกรรม (Agricul-tural Economy) มาเป็นระบบเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (Industrial Economy) การวิ่งนำหน้าของอังกฤษในการพัฒนาอุตสาหกรรมก่อให้เกิดกระบวนการวิ่งไล่กวดทางเศรษฐกิจ (Catching-up Process)



ประเทศต่างๆ พยายามวิ่งไล่กวดอังกฤษในการพัฒนาอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นเยอรมนี ฝรั่งเศส รัสเซีย และสหรัฐอเมริกา ก่อให้เกิดประเทศอุตสาหกรรมรุ่นที่สอง รุ่นที่สาม และรุ่นต่อๆ มา



การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สอง (SecondIndustrial Revolution) ซึ่งเกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาเพียงแต่เร่งเร้ากระบวนการวิ่งไล่กวดทางเศรษฐกิจให้มีความเร็วเพิ่มขึ้น แต่ที่สำคัญยิ่งก็คือ มีผลในการเปลี่ยนแปลงศูนย์อำนาจและศูนย์กลางการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ



โดยข้ามฟากมหาสมุทรแอตแลนติกนั้นเอง นับตั้งแต่เมื่อเกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรกจวบจนสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรปและทวีปอเมริกาเหนือทยอยกันเปลี่ยนโฉมหน้าเป็นประเทศอุตสาหกรรม



การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตดังกล่าวนี้เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบระหว่างประเทศ (International Comparative Advantage) เมื่อความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบแปรเปลี่ยนไป โครงสร้างการผลิตย่อมต้องปรับเปลี่ยนตามการเปลี่ยนแปลงของความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ


ด้วยเหตุที่การเปลี่ยนแปลงความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบเป็นไปอย่างเชื่องช้า โครงสร้างการผลิตจึงเปลี่ยนแปลงอย่างเชื่องช้าตามไปด้วย ความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบจะเปลี่ยนแปลงไปเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทรัพยากรที่เป็นปัจจัยการผลิต (Factor Endowment)



และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงราคาสัมพัทธ์ของปัจจัยการผลิต ในประวัติศาสตร์ของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมเก่า (Old Industrial Countries = OICs) โครงสร้างการผลิตมักจะแปรเปลี่ยนจากการผลิตที่ใช้แรงงานเข้มข้น (Labour-intensive Production) ไปสู่การผลิตที่ใช้เครื่องจักรเข้มข้น (Capital-intensive Production)



ตามมาด้วยการผลิตที่ใช้สารสนเทศเข้มข้น (Information-intensive Production) ในยุคสมัยที่สังคมเศรษฐกิจยังมีแรงงานราคาถูก การผลิตที่ใช้แรงงานเข้มข้นจะครอบงำโครงสร้างการผลิต เมื่อแรงงานราคาถูกหมดไป



การเปลี่ยนแปลงราคาสัมพัทธ์ของปัจจัยการผลิตดังกล่าวนี้ย่อมทำให้มีการใช้เครื่องจักรทดแทนแรงงาน จนการผลิตที่ใช้เครื่องจักรเข้มข้นกลายเป็นการผลิตหลักของระบบเศรษฐกิจ ในท่ามกลางการวิ่งไล่กวดทางเศรษฐกิจในสังคมโลกในช่วงเวลากว่าสองศตวรรษที่ผ่านมานี้



ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อกระบวนการวิ่งไล่กวด ประเทศที่สามารถหาประโยชน์จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีย่อมเร่งความเร็วในการวิ่งไล่กวดได้


สารเป็นไปอย่างรวดเร็ว และสารสนเทศมีความสมบูรณ์มากขึ้นเท่านั้น หากยังเปลี่ยนแปลงแบบแผนพื้นฐานในการสื่อสารของมนุษย์อีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้น ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ บทบาทและอิทธิพลของสื่อมวลชนที่มีต่อสังคมมนุษย์ ทั้งในการถ่ายทอดกระบวนทัศน์ทางความคิด แบบแผนการดำรงชีวิต ระบบคุณค่าและบรรทัดฐานทางจริยธรรมเพิ่มขึ้นจากเดิมเป็นอันมาก ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีวัสดุภัณฑ์สมัยใหม่ก็มีผลกระทบต่อแบบแผนการดำรงชีวิตของมนุษย์ ทุกวันนี้ผู้คนพากันกล่าวขวัญถึงการปฏิวัติเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology Revolution) และการปฏิวัติเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology Revolution) หลงลืมและมิได้นึกถึงการปฏิวัติเทคโนโลยีวัสดุภัณฑ์สมัยใหม่ (New Materials Techno-logy Revolution) ในช่วงเวลา 5 ทศวรรษที่ผ่านมานี้ วัสดุภัณฑศาสตร์ (Materials Science) รุดหน้าไปเป็นอันมาก วัสดุภัณฑ์สมัยใหม่ทีละชนิดสองชนิดเข้ามามีบทบาทในแบบแผนการดำรงชีวิตของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นพลาสติก (Plastics) เซรามิก (Ceramics) ซีเมนต์สมัยใหม่ที่เรียกว่าMDF Cement (Macro-defect-free Cement) โลหะผสม (Metal Alloys) กาวพิเศษ (Superglues) เซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor) และใยแก้ว (Fiber Optics) วัสดุภัณฑ์สมัยใหม่เหล่านี้เข้ามาแทนที่วัสดุภัณฑ์ดั้งเดิม และมีส่วนสำคัญในการเปลี่ยนแปลงวิถีการดำรงชีวิตและสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ ทั้งในครัวเรือน สถานที่ทำงาน ชุมชน และบ้านเมือง


ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.matichonbook.com/mail.php?send=2&id=470426104200





ข้อมูลเกี่ยวข้อง.. ทุนวัฒนธรรม-เล่นแร่แปร /สยามรัฐรายวัน.



นายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กำลังเดินหน้าปฏิบัติการโครงการไทยเข้มแข็งงบประมาณ 2.5 แสนล้านบาท ปี 2553–2555 มีเนื้อเศรษฐกิจสร้างสรรค์ Creative Economy ด้วยเม็ดเงิน 20,000 ล้านบาท โดยมีกระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) รับงบส่งเสริมอุตสาหกรรมศิลปวัฒนธรรม 30 % หรือ 6,000 ล้านบาท


นายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กล่าวเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ในรายการเชื่อมั่นประเทศไทย(6ก.ย.) ตอนหนึ่ง “คือการใช้ความ คิด ใช้ภูมิปัญญามีอยู่ต่อยอดศิลปวัฒนธรรมบ้าง ทำในส่วนของอุตสาหกรรมบันเทิงบ้าง ทำในเรื่องของการออก แบบผลิตภัณฑ์มาเป็นอุตสาหกรรม และในส่วนงานวิจัย งานบริการอื่นๆ สามารถเพิ่มมูลค่าการผลิตภายในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าบริการ จะเป็นภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม จะเป็นการท่องเที่ยว หรืออะไรก็แล้วแต่เพิ่มมูลค่าผ่านกระบวนการของความคิดสร้างสรรค์ ในส่วนรัฐบาลจะปรับปรุงกลไก องค์กรต่างๆ เพื่อจะเอื้อต่อการบริหารเศรษฐกิจสร้างสรรค์ให้ครบวงจร มีบูรณาการ ความเป็นเอกภาพ จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น”



พลิกไปบทบาทวธ. ที่สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ(สวช.) จัดประชุมสัมมนา “จากทุนทางวัฒนธรรม...สู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์” เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา (4ก.ย.) มีศิลปินแห่งชาติ ศิลปินพื้นบ้าน ผู้ประ กอบการด้านศิลปวัฒนธรรมเข้าร่วม 300 กว่าคน



ธีระ สลักเพชร รมว.วัฒนธรรม กล่าวว่า “วธ.เสมือนต้นน้ำขับเคลื่อนงานด้านศิลปวัฒนธรรม โดยจะแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาให้การทำงานเป็นไปอย่างมีระบบ”



ธีระ ให้ความเห็นเพิ่ม จะนำศูนย์วัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน1,300 กว่าแห่งทั่วประเทศ ลงบนแผนที่ทางวัฒนธรรมของระบบสารสนเทศเนคเทค กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี(วท.) เพื่อให้ผู้ประกอบการหรือนักลงทุนได้ติดต่อกับเจ้าของทุนทางปัญญาโดยตรงในแต่ละท้องถิ่น หรือจะเป็นในรูปแบบการเสนอขอซื้อผลงานก็ย่อมได้ ทั้งจะให้สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดทำหน้าที่รวบรวมทุนทางวัฒนธรรมทั่วประเทศ เพื่อประสานข้อมูลไปยังกระทรวงพาณิชย์ ในการจดสิทธิบัตรหรือทรัพย์สินทางปัญญาอีกด้วย



ในเนื้องานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ยังพ่วง โครงการเมืองสร้างสรรค์ หรือ ครีเอทีฟ ซิตี้ (Creative City) ภายใต้การดูแลรับผิดชอบของสำนักนายกรัฐมนตรี โดยเบื้องต้นจะมีการแบ่งโซนพื้นที่รับผิดชอบตามแต่ละจังหวัด ให้แต่ละกระทรวงดำเนินการ



นายธีระ กล่าวว่า “ในส่วนของวธ.นั้น คาดว่าจะได้รับมอบหมายให้ดำเนินการเกาะรัตนโกสินทร์ และอุทยานประวัติศาสตร์ที่กรมศิลปากรดูแลอยู่”



แม้จะยังไม่มีบทสรุปชัดเจนของโครงการดังกล่าวที่วธ.จะขับเคลื่อน แต่ในมุมมอง ธานินทร์ ผะเอม ที่ปรึกษานโยบายและแผนงานสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สภาพัฒน์) ให้มุม มองอีกด้านหนึ่ง “การนำทุนทางวัฒนธรรมมาใช้เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ต้องบอกก่อนว่าไม่ใช่ของใหม่ รัฐบาลที่ผ่านมาก็ทำกันอยู่แล้ว เพียงแต่ไม่มีเจ้าภาพชัดเจนเหมือนครั้งนี้ จะมีการตั้งองค์กรขึ้นมาเป็นผู้รับผิดชอบ เมื่อการลงทุนนั้นมีปัญหาเกิดขึ้นจะได้เข้าหาองค์กรนั้นถูก”



ธานินทร์ ผะเอม สะท้อน “ที่ผ่านมาผู้ประกอบการบ้านเราขาดการต่อยอด เพราะไม่ได้รับการสนับสนุนเงินลงทุน ในขณะที่นักลงทุนข้างนอกเข้ามาลงทุนกลับได้รับการสนับสนุน” และเสริมภาพอุปนิสัยคนไทย “เราเองพอขายอะไร ก็มักจะพอใจในสิ่งนั้น ดูอย่างอาหารไทยโด่งดังในต่างประเทศ แต่กลับเพิ่มมูลค่าได้น้อย อย่างไรก็ดีมีการปรับตัวมากขึ้น อย่างปลาร้าแห้ง มีการบรรจุผลิตภัณฑ์ในรูปสากล”



อีกเช่นกันในความเป็นสินค้าไทย คนไทยด้วยกันไม่ค่อยนิยมแบรนด์ไทย เพราะดูน่าเชื่อถือน้อย แค่เสื้อผ้าที่เราใส่กัน เส้นใยฝ้ายทำจากไทย แต่ต้องติดแบรนด์เนมฝรั่งจึงจะน่าเชื่อถือ ถึงอย่างนั้นก็ตามหลังๆ มานี่ผู้ผลิตเริ่มจะกล้าใส่แบรนด์เนมไทยมากขึ้น ดังนี้แล้วรัฐบาลต้องสนับสนุนอย่างจริงจัง เพราะเป็นฝีมือสร้างสรรค์ของคนไทยระดับกลางและชุมชน ส่วนบริษัทมหาชนนั้นไม่ต้องห่วง เขายืนได้อยู่แล้ว



ธานินทร์ ย้ำ “สิ่งที่สำคัญที่สุดของการทำมาค้าขาย หรือแม้แต่การบริการก็ตาม คือเรื่องความซื่อ สัตย์ต่อลูกค้า ไม่ใช่พอเริ่มต้นก็คิดจะโกงกันแล้ว อย่างนี้แล้วไม่ว่าใครก็เสียความรู้สึกทั้งนั้น”



แน่ล่ะ ธรรมชาติของผู้ประกอบการก็ย่อมจะวิตกโครงการของรัฐบาล เพราะทุกครั้งที่มีการเปลี่ยน แปลงทางการเมือง โครงการนั้นก็มักจะล่มหรือถูกทอดทิ้งตามไปด้วย



ธานินทร์ ให้แง่คิด “ผมว่านี่อันตราย” และว่า “คนที่มีพลังและเป็นกระบอกเสียงผ่านสื่อได้ ก็คือศิลปิน เพราะท่านเหล่านี้พูดอะไรขึ้นมาแล้ว รัฐบาลเป็นต้องเจ็บทุกที ดังนั้นแล้วอยากให้ผู้ผลิตงานด้านศิลปวัฒนธรรมเกาะกลุ่มกันเป็นพลัง รัฐบาลไหนจะกล้าปฏิเสธ”



ธานินทร์ ทิ้งท้าย “จริงๆ เราไม่ห่วงเสถียรภาพของรัฐบาล แล้วโครงการนี้มันก็อยู่ในกระแสสังคม ซึ่งทว่าไปใครจะมาเล่นแปรธาตุก็คงจะทำลำบากด้วย เพราะประชาชนจับตามองเหมือนกรณีโครงการอื่นๆ ก่อนหน้านี้”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น