
น่าจะถือเป็นโอกาสดีที่ประเทศไทย ในฐานะหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งอาเซียน ได้รับตำแหน่งประธานและเลขาธิการอาเซียนในคราวเดียวกันในการจัดประชุมอาเซียนซัมมิท หัวหิน-ชะอำ ที่เพิ่งพ้นไป (27 ก.พ.-1 มี.ค.2552)
แม้ทั่วโลกจะคอยฟังว่ากลุ่มอาเซียนจะมีไม้เด็ดอะไรที่จะเสนอเพื่อแก้ไขปัญหาของโลกโดยเฉพาะปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ในภูมิภาคอาเซียนเอง
ดังนั้น แถลงการณ์ร่วมอาเซียนภายใต้ชื่อปฏิญญาอาเซียน หัวหิน-ชะอำ จึงน่าจะเป็นการรอคอยของนักวิเคราะห์ทั่วโลกเสียมากกว่า
แม้จะรู้ว่าอาเซียนซัมมิทเป็นเรื่องของความพยายามเปิดโต๊ะลงนามข้อตกลงเปิดการค้าเสรี (Free Trade Area) หรือเอฟทีเอ ระหว่างกัน ของบรรดาผู้นำอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ อย่างเป็นด้านหลักก็ตาม
เป็นที่ทราบกันว่า การประชุมครั้งนี้ ประเทศไทยต้องเร่งลงนามข้อตกลงกรอบการค้าทั้ง 4 กรอบ 14 ฉบับข้อตกลง
ทั้งกรอบข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ (AANZFTA) กรอบข้อตกลงการค้าเสรีอาเซียน-อินเดีย กรอบความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน-จีน และกรอบข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-เกาหลี
โดยเฉพาะเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยยังโงหัวไม่ขึ้น และนักวิเคราะห์สายเศรษฐกิจหลายสำนักพยากรณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจด้วยตัวเลขน่าเป็นห่วง ถึงขั้นไทยอาจเจอกับตัวเลขติดลบถึง 4%
ในขณะที่การประมาณการของ ธปท.ได้คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของไทยในปี 2552 จะขยายตัวอยู่ที่ระหว่าง 0-2 เปอร์เซ็นต์ และมูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส โดย มูดี้ส์ อีโคโนมี ดอต คอม สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือชั้นนำของโลก
อเลสแตร์ ชาน นักเศรษฐศาสตร์ประจำสำนักงานสาขาซิดนีย์ ออสเตรเลีย ออกบทวิเคราะห์ขยี้ไทยซ้ำว่า ตัวเลขจีดีพีของไตรมาสที่ 4 ของประเทศไทยกำลังวิ่งเข้าหาความเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบเลวร้ายที่สุดในเอเชีย
แม้ว่านายกฯ ของประเทศไทย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในฐานะประธานอาเซียนจะป่าวประกาศเป้าหมายของอาเซียน
ภายใน พ.ศ.2558 ประเทศ 10 ชาติสมาชิกอาเซียนจะหลอมรวมกันกลายเป็นประชาคมอาเซียนเปลี่ยนบทบาทของสมาคมอาเซียนให้เป็นของประชาชนโดยประชาชนเพื่อประโยชน์ของประชาชนชาวอาเซียนทุกคน
พูดอย่างง่ายก็คืออีก 6 ปีจากนี้ไป ประชากรของ 10 ประเทศอาเซียน 570 ล้านคน จะรวมกันเป็นหนึ่งเดียว ประชาคมอาเซียนจะมีชีวิตอย่างสุขสบาย
ทั้งแง่ของการเป็นประชาชนคนไทย การเป็นประชาชนคนอาเซียน และการเป็นประชาชนพลเมืองโลกที่มีคุณภาพ
อาเซียนจะเป็นเอกภาพ เป็นดินแดนแห่งความเสมอภาค เป็นดินแดนที่ชาวอาเซียนซึ่งมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมจะอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืนและกลมเกลียว เป็นการรวมพลังของชาวอาเซียนที่มีความแข็งแกร่งอย่างแท้จริง
ฟังดู แม้จะมองว่าเป็นวาทกรรมที่สวยหรูอยู่บ้างก็ตาม
แต่ก่อนที่จะไปถึงความหวังอันอีกยาวไกล ที่อาเซียน 10 ประเทศ 570 ล้านคนจะหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียว
ถ้านายกฯ อภิสิทธิ์ ช่วยทำให้คนไทย 63 ล้านคน ที่ยังแตกแยกกันเป็นสีต่างๆ ในประเทศให้เป็นหนึ่งเดียวได้ด้วยก็น่าจะเป็นเรื่องน่ายินดี
เพราะถ้าคนชาติเดียวกันยังหลอมรวมกันไม่ได้ จะให้ 10 ชาติอาเซียน 570 ล้านคนหลอมรวมกันเป็นหนึ่งเดียวก็คงไม่ง่าย
การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน 10 ประเทศ แม้เชิงสัญลักษณ์ของการประชุมจะผ่านไปแล้ว โดยทิ้งแถลงการณ์ร่วมที่เรียกร้องให้ทั่วโลกร่วมมือกัน เพื่อปฏิรูประบบสถาบันการเงิน และต่อสู้กับปัญหาลัทธิปกป้องผลประโยชน์ทางการค้าเอาไว้ให้อ่านเพียงไม่กี่หน้ากระดาษ
ข้อนี้ทำให้นักวิเคราะห์มองว่าอาเซียนยังเป็นกลุ่มประเทศที่ไร้เขี้ยวเล็บแก้วิกฤติเศรษฐกิจในภูมิภาคเช่นเดิม
เริ่มจาก นายเดวิด โคเฮน นักวิเคราะห์และเป็นนักเศรษฐศาสตร์ประจำภูมิภาคอาเซียน มองว่าจากสถานการณ์ยุโรปและสหรัฐซึ่งเป็นตลาดหลักของอาเซียนลดการบริโภคสินค้าของกลุ่ม
ทำให้กลุ่มอาเซียนไร้อำนาจมากขึ้นที่จะคุ้มครองแรงงานนับล้านตำแหน่งที่เสี่ยงจะตกงาน โดยเขาไม่เห็นว่าแถลงการณ์ของกลุ่มอาเซียนจะสามารถสร้างความแตกต่างอย่างฉับพลันได้จริง
เนื่องจากปัญหาของกลุ่มอาเซียนที่มีอยู่นั้นก็เป็นเรื่องใหญ่โตอยู่แล้ว ขณะที่นักวิชาการแห่งมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอฟกิ้น อย่างนายบริเจ็ท เวลท์ มีความเห็นคล้ายๆ กัน ว่ากลุ่มอาเซียนยังดูเหมือนเป็นกลุ่มทางเศรษฐกิจที่ถูกปฏิเสธและมาตรการของอาเซียนที่ออกมาขาดสีสันและจะไร้ประสิทธิภาพ
แม้ว่าอาเซียนจะแสดงให้เห็นว่าเข้าใจต่อผลกระทบทางเศรษฐกิจโลกต่อภูมิภาคนี้ก็ตาม และมองว่ามาตรการสำคัญๆ อาทิ การทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ยังคงเป็นเพียงการตกลงเชิงสัญลักษณ์ ขาดเนื้อหาสาระที่เป็นประเด็นหลักๆ
อีกทั้งยังมองว่าผู้นำชาติอาเซียนทั้งหลายยังคงเก็บความเป็นชาตินิยมและการปกป้องผลประโยชน์ทางการค้าของชาติตนเองไว้อย่างลับๆ และไม่ได้เน้นหาแนวทางเพื่อแก้ปัญหาในภูมิภาคนี้อย่างจริงจังเท่าที่ควร
ในมุมของวอชิงตัน โพสต์ ก็เช่นกัน คือมองว่าโลกยังไม่เห็นมาตรการแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่ชัดเจนจากการประชุมอาเซียน โดยมองว่าตลอด 10 ปีที่ผ่านมา
การเติบโตของภูมิภาคนี้ มาจากการส่งออกเป็นด้านหลัก ทุกวันนี้ชาติสมาชิกสมาคมอาเซียต่างก็ได้รับผลประทบหนัก จากความต้องการที่ลดลงในตลาดใหญ่ๆ อย่างในสหรัฐและกลุ่มสหภาพยุโรป ทั้งสิงคโปร์ และไทย ต่างก็ได้รับสัญญาณของการหดตัวของจีดีพี มาตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีที่แล้ว
คาดว่าสถานการณ์อาจเลวร้ายได้ เมื่อพิจารณาดัชนีการบริโภคเดือน ม.ค.-ก.พ. ซึ่งลดลงอย่างน่าใจหาย ค่าเงินบาทแข็ง ตัวเลขการส่งออก การบริโภค การท่องเที่ยว การบริการจะติดลบ
หากสถานการณ์ยังคงเป็นอย่างนี้ไปอีกระยะ คนอาจเกิดความตระหนก คนไม่กล้าใช้เงิน
ขณะที่มาของรายได้รัฐยังไม่ชัดเจน ตลาดทุนจะมีผลกระทบเป็นสองเท่า ลดต้นทุน ลดการผลิต ลดความเสี่ยงอันเนื่องจากเศรษฐกิจหดตัว และการเมืองร้อน ประเทศอาจอยู่ในภาวะที่น่าเป็นห่วงอยู่ไม่น้อย
ในที่สุดแล้ว อาเซียนซัมมิท อาจถูกมองมุมร้ายว่าเป็นเพียงการประชุมเตรียมข้อมูลเสนอขอกู้เงินช่วยเหลือในที่ประชุมของจี 20 ที่ลอนดอนในเดือน เม.ย.
นับเป็นการรอปาฏิหาริย์ให้กลุ่มจี 20 ชุบชีวิตโดยแท้ หากเป็นเช่นนั้นจริง อาเซียนก็อาจจะเป็นแค่สิ่งจับต้องไม่ได้อีกเช่นเคย
แม้ว่าจะอยู่ในช่วงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เข้มแข็ง โดยใช้ยุทธศาสตร์ทุนวัฒนธรรมมาเป็นแกนกลางเพื่อใช้นโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็งอย่างที่รัฐบาลกำลังเหยียบคันเร่งเต็มที่อยู่ขณะนี้ก็ตาม
แม้ทั่วโลกจะคอยฟังว่ากลุ่มอาเซียนจะมีไม้เด็ดอะไรที่จะเสนอเพื่อแก้ไขปัญหาของโลกโดยเฉพาะปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ในภูมิภาคอาเซียนเอง
ดังนั้น แถลงการณ์ร่วมอาเซียนภายใต้ชื่อปฏิญญาอาเซียน หัวหิน-ชะอำ จึงน่าจะเป็นการรอคอยของนักวิเคราะห์ทั่วโลกเสียมากกว่า
แม้จะรู้ว่าอาเซียนซัมมิทเป็นเรื่องของความพยายามเปิดโต๊ะลงนามข้อตกลงเปิดการค้าเสรี (Free Trade Area) หรือเอฟทีเอ ระหว่างกัน ของบรรดาผู้นำอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ อย่างเป็นด้านหลักก็ตาม
เป็นที่ทราบกันว่า การประชุมครั้งนี้ ประเทศไทยต้องเร่งลงนามข้อตกลงกรอบการค้าทั้ง 4 กรอบ 14 ฉบับข้อตกลง
ทั้งกรอบข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ (AANZFTA) กรอบข้อตกลงการค้าเสรีอาเซียน-อินเดีย กรอบความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน-จีน และกรอบข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-เกาหลี
โดยเฉพาะเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยยังโงหัวไม่ขึ้น และนักวิเคราะห์สายเศรษฐกิจหลายสำนักพยากรณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจด้วยตัวเลขน่าเป็นห่วง ถึงขั้นไทยอาจเจอกับตัวเลขติดลบถึง 4%
ในขณะที่การประมาณการของ ธปท.ได้คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของไทยในปี 2552 จะขยายตัวอยู่ที่ระหว่าง 0-2 เปอร์เซ็นต์ และมูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส โดย มูดี้ส์ อีโคโนมี ดอต คอม สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือชั้นนำของโลก
อเลสแตร์ ชาน นักเศรษฐศาสตร์ประจำสำนักงานสาขาซิดนีย์ ออสเตรเลีย ออกบทวิเคราะห์ขยี้ไทยซ้ำว่า ตัวเลขจีดีพีของไตรมาสที่ 4 ของประเทศไทยกำลังวิ่งเข้าหาความเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบเลวร้ายที่สุดในเอเชีย
แม้ว่านายกฯ ของประเทศไทย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในฐานะประธานอาเซียนจะป่าวประกาศเป้าหมายของอาเซียน
ภายใน พ.ศ.2558 ประเทศ 10 ชาติสมาชิกอาเซียนจะหลอมรวมกันกลายเป็นประชาคมอาเซียนเปลี่ยนบทบาทของสมาคมอาเซียนให้เป็นของประชาชนโดยประชาชนเพื่อประโยชน์ของประชาชนชาวอาเซียนทุกคน
พูดอย่างง่ายก็คืออีก 6 ปีจากนี้ไป ประชากรของ 10 ประเทศอาเซียน 570 ล้านคน จะรวมกันเป็นหนึ่งเดียว ประชาคมอาเซียนจะมีชีวิตอย่างสุขสบาย
ทั้งแง่ของการเป็นประชาชนคนไทย การเป็นประชาชนคนอาเซียน และการเป็นประชาชนพลเมืองโลกที่มีคุณภาพ
อาเซียนจะเป็นเอกภาพ เป็นดินแดนแห่งความเสมอภาค เป็นดินแดนที่ชาวอาเซียนซึ่งมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมจะอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืนและกลมเกลียว เป็นการรวมพลังของชาวอาเซียนที่มีความแข็งแกร่งอย่างแท้จริง
ฟังดู แม้จะมองว่าเป็นวาทกรรมที่สวยหรูอยู่บ้างก็ตาม
แต่ก่อนที่จะไปถึงความหวังอันอีกยาวไกล ที่อาเซียน 10 ประเทศ 570 ล้านคนจะหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียว
ถ้านายกฯ อภิสิทธิ์ ช่วยทำให้คนไทย 63 ล้านคน ที่ยังแตกแยกกันเป็นสีต่างๆ ในประเทศให้เป็นหนึ่งเดียวได้ด้วยก็น่าจะเป็นเรื่องน่ายินดี
เพราะถ้าคนชาติเดียวกันยังหลอมรวมกันไม่ได้ จะให้ 10 ชาติอาเซียน 570 ล้านคนหลอมรวมกันเป็นหนึ่งเดียวก็คงไม่ง่าย
การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน 10 ประเทศ แม้เชิงสัญลักษณ์ของการประชุมจะผ่านไปแล้ว โดยทิ้งแถลงการณ์ร่วมที่เรียกร้องให้ทั่วโลกร่วมมือกัน เพื่อปฏิรูประบบสถาบันการเงิน และต่อสู้กับปัญหาลัทธิปกป้องผลประโยชน์ทางการค้าเอาไว้ให้อ่านเพียงไม่กี่หน้ากระดาษ
ข้อนี้ทำให้นักวิเคราะห์มองว่าอาเซียนยังเป็นกลุ่มประเทศที่ไร้เขี้ยวเล็บแก้วิกฤติเศรษฐกิจในภูมิภาคเช่นเดิม
เริ่มจาก นายเดวิด โคเฮน นักวิเคราะห์และเป็นนักเศรษฐศาสตร์ประจำภูมิภาคอาเซียน มองว่าจากสถานการณ์ยุโรปและสหรัฐซึ่งเป็นตลาดหลักของอาเซียนลดการบริโภคสินค้าของกลุ่ม
ทำให้กลุ่มอาเซียนไร้อำนาจมากขึ้นที่จะคุ้มครองแรงงานนับล้านตำแหน่งที่เสี่ยงจะตกงาน โดยเขาไม่เห็นว่าแถลงการณ์ของกลุ่มอาเซียนจะสามารถสร้างความแตกต่างอย่างฉับพลันได้จริง
เนื่องจากปัญหาของกลุ่มอาเซียนที่มีอยู่นั้นก็เป็นเรื่องใหญ่โตอยู่แล้ว ขณะที่นักวิชาการแห่งมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอฟกิ้น อย่างนายบริเจ็ท เวลท์ มีความเห็นคล้ายๆ กัน ว่ากลุ่มอาเซียนยังดูเหมือนเป็นกลุ่มทางเศรษฐกิจที่ถูกปฏิเสธและมาตรการของอาเซียนที่ออกมาขาดสีสันและจะไร้ประสิทธิภาพ
แม้ว่าอาเซียนจะแสดงให้เห็นว่าเข้าใจต่อผลกระทบทางเศรษฐกิจโลกต่อภูมิภาคนี้ก็ตาม และมองว่ามาตรการสำคัญๆ อาทิ การทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ยังคงเป็นเพียงการตกลงเชิงสัญลักษณ์ ขาดเนื้อหาสาระที่เป็นประเด็นหลักๆ
อีกทั้งยังมองว่าผู้นำชาติอาเซียนทั้งหลายยังคงเก็บความเป็นชาตินิยมและการปกป้องผลประโยชน์ทางการค้าของชาติตนเองไว้อย่างลับๆ และไม่ได้เน้นหาแนวทางเพื่อแก้ปัญหาในภูมิภาคนี้อย่างจริงจังเท่าที่ควร
ในมุมของวอชิงตัน โพสต์ ก็เช่นกัน คือมองว่าโลกยังไม่เห็นมาตรการแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่ชัดเจนจากการประชุมอาเซียน โดยมองว่าตลอด 10 ปีที่ผ่านมา
การเติบโตของภูมิภาคนี้ มาจากการส่งออกเป็นด้านหลัก ทุกวันนี้ชาติสมาชิกสมาคมอาเซียต่างก็ได้รับผลประทบหนัก จากความต้องการที่ลดลงในตลาดใหญ่ๆ อย่างในสหรัฐและกลุ่มสหภาพยุโรป ทั้งสิงคโปร์ และไทย ต่างก็ได้รับสัญญาณของการหดตัวของจีดีพี มาตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีที่แล้ว
คาดว่าสถานการณ์อาจเลวร้ายได้ เมื่อพิจารณาดัชนีการบริโภคเดือน ม.ค.-ก.พ. ซึ่งลดลงอย่างน่าใจหาย ค่าเงินบาทแข็ง ตัวเลขการส่งออก การบริโภค การท่องเที่ยว การบริการจะติดลบ
หากสถานการณ์ยังคงเป็นอย่างนี้ไปอีกระยะ คนอาจเกิดความตระหนก คนไม่กล้าใช้เงิน
ขณะที่มาของรายได้รัฐยังไม่ชัดเจน ตลาดทุนจะมีผลกระทบเป็นสองเท่า ลดต้นทุน ลดการผลิต ลดความเสี่ยงอันเนื่องจากเศรษฐกิจหดตัว และการเมืองร้อน ประเทศอาจอยู่ในภาวะที่น่าเป็นห่วงอยู่ไม่น้อย
ในที่สุดแล้ว อาเซียนซัมมิท อาจถูกมองมุมร้ายว่าเป็นเพียงการประชุมเตรียมข้อมูลเสนอขอกู้เงินช่วยเหลือในที่ประชุมของจี 20 ที่ลอนดอนในเดือน เม.ย.
นับเป็นการรอปาฏิหาริย์ให้กลุ่มจี 20 ชุบชีวิตโดยแท้ หากเป็นเช่นนั้นจริง อาเซียนก็อาจจะเป็นแค่สิ่งจับต้องไม่ได้อีกเช่นเคย
แม้ว่าจะอยู่ในช่วงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เข้มแข็ง โดยใช้ยุทธศาสตร์ทุนวัฒนธรรมมาเป็นแกนกลางเพื่อใช้นโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็งอย่างที่รัฐบาลกำลังเหยียบคันเร่งเต็มที่อยู่ขณะนี้ก็ตาม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น