วันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2552

ทวงพื้นที่รอบเขาพระวิหาร

โดย กรุงเทพธุรกิจออนไลน์




นายวีระ สมความคิด พร้อมตัวแทนคนรักชาติ เดินทางไปยังผามออีแดงอ่านแถลงการณ์ทวงคืนดินแดนรอบปราสาทพระวิหาร พื้นที่ 4.6 ตารางกม.



อัมพวา.. โมเดลสร้างสรรค์ เศรษฐกิจชุมชน

โดย สุกัญญา ศุภกิจอำนวย






อัมพวา เป็นเมืองเล็กๆ ที่มีสภาพทางภูมิศาสตร์ วัฒนธรรม ซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ามหาศาล แต่ถ้าไม่ได้บริหารให้ถูกทาง สิ่งที่มีก็..สูญเปล่า

เมื่อถูกนำมาพัฒนาใหม่ ใส่ Value ต่อยอดจากภูมิศาสตร์ ภูมิสังคม อัมพวาก็เปล่ง "พลัง" แค่ 4-5 ปี อัมพวาเปลี่ยนจากตลาดน้ำที่ถูกทิ้งร้าง มีคนเดินทางมาเที่ยวไม่ต่ำกว่า 5-6 แสนต่อปี

มีทั้งไทยไปจนถึงต่างชาติ ไม่รู้จักคำว่า โลว์ ซีซัน มีแต่คำว่า ไฮ ซีซัน ไม่สะเทือนแม้เศรษฐกิจตก สร้างเม็ดเงินให้ชุมชน 500 ล้านบาทต่อปี ประเมินจากการใช้จ่ายต่อคนประมาณ 1,000 บาท ส่งผลสู่บรรทัดสุดท้าย ชุมชนมีความเข้มแข็ง พึ่งพิงตนเองได้ ไร้อาชญากรรม

อัมพวา โมเดล ทำได้อย่างไร
ความสำเร็จของตลาดน้ำอัมพวาที่แม้เวลาจะผ่านไปกว่า 5 ปีนับจากวันแรกของการรื้อฟื้นตลาดน้ำขึ้นมาเมื่อวันที่ 11 ส.ค.2547 หากวิเคราะห์กันดีๆ จะเห็นได้ว่าเป็นเรื่องของ การสร้างสรรค์ต่อยอดจาก "ภูมิสังคม" (แม่น้ำ) และทุนทางสังคม (ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และวิถีชีวิตชุมชน) ที่มีในตำบลแห่งนี้ จนกลายเป็น "ความได้เปรียบ" ในเชิงอัตลักษณ์ (Character) ของพื้นที่

"Key Area ของอัมพวา คือ ปอดของกรุงเทพ เป็นพื้นที่สีเขียวของภาคกลาง คนกรุงเทพอยากมีปอดหายใจ อยากเรียนรู้ประวัติศาสตร์ นี่คือทุนทางสังคมที่มีอยู่แล้ว สำคัญอยู่ที่การรู้จักจัดกระบวนการนำเสนอใหม่ (present) สุดท้ายก็จะเป็นมูลค่าเพิ่ม (value) " รท.พัชโรดม อุนสุวรรณ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลอัมพวา ผู้ริเริ่มแนวคิดการบริหารจัดการพื้นที่อัมพวาในรูปแบบใหม่กล่าว

เขาให้ภาพย้อนหลังว่า เมื่อ 10 ปีก่อน อัมพวาแทบจะเป็นเมืองร้าง ตำบลที่ในอดีตเคยมีประชากรกว่า 1 หมื่นคน ลดลงเหลือ 5,000 คน ที่สำคัญกลุ่มคนที่เหลือส่วนใหญ่เป็นเด็กและคนแก่ ขณะที่คนวัยทำงานจากไป พร้อมกับการเกิดขึ้นของโครงข่ายคมนาคมทางบกที่เข้ามาทดแทนทางน้ำ

"ผมเข้ามาเป็นนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลอัมพวาสมัยแรก เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2547 ก็มานั่งคิดว่า จะแก้ปัญหา "เศรษฐกิจระดับชุมชน" ของคนอัมพวาอย่างไร

จนได้คำตอบว่าจะต้องทำให้อัมพวากลับมาเป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางน้ำเหมือนในอดีตอีกครั้ง โดยอาศัย "ชุมชน" เป็นตัวขับเคลื่อน"

รท.พัชโรดมคลี่ปมปริศนาดังกล่าวด้วยการแปลงแนวคิดออกมาเป็นยุทธศาสตร์ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

"เราเคยมีเรือใช้เดินทาง1-2 วัน เพื่อไปกรุงเทพฯ เมื่อเรือหายไปก็ไม่ตอบโจทย์การพัฒนา ดังนั้น ถ้าเราจะเอาเมืองกลับคืนมา น้ำต้องกลับมาด้วย"

ปฏิบัติการ "ฟื้นตลาดน้ำ" ในปี 2547 จึงเกิดขึ้น ในปีเดียวกันที่เขารับตำแหน่งนายกฯ

แต่กว่าจะถึงจุดนั้น ก็เต็มไปด้วยเสียงค้านของคนในพื้นที่ที่มักจะถามกลับมาว่า...

"ใครจะมาเที่ยว ที่ผ่านมามีแต่คนเดินออก"

หรือกรณีการซ่อมแซมเรือนแถวริมน้ำเพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์ แม้จะได้เงินสนับสนุนบางส่วนจากสำนักงานความช่วยเหลือทางวิชาการจากเดนมาร์ค ชาวบ้านก็ไม่วายถามว่า...ซ่อมแล้วจะได้อะไร

กรณีการผุดแนวคิดล่องเรือชมหิ่งห้อย ก็เช่นกัน

ชาวบ้านถามอีกว่า... "นายกๆ แล้วใครจะมาดูหิ่งห้อย !!!"

โจทย์ถัดมาของการทำตลาดน้ำ รท.พัชโรดมบอกว่า จะต้องหา "จุดขาย" เพื่อสร้างความต่างจากตลาดน้ำดำเนินสะดวกที่ห่างกันเพียง 15 ก.ม.

จึงมาลงตัวที่การจับจุดได้ว่าเมื่อตลาดน้ำดำเนินสะดวกเป็น...ตลาดเช้า อัมพวาก็ต้องเป็น "ตลาดเย็น"

ตลาดน้ำดำเนินสะดวกเน้นลูกค้าต่างชาติ ถ้างั้นคนไทยสัก 10 ล้านคนจะเป็นลูกค้าเราได้ไหม?

หลังตลาดน้ำเกิดขึ้น การเพิ่มทริปเส้นทาง "ล่องเรือชมหิ่งห้อย" ก็ตามมา เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว และเมื่อคนมาเที่ยวเริ่มถามหาที่พัก ธุรกิจ "โฮมสเตย์" จึงเกิดขึ้นในช่วงรอยต่อปี 48-49

ตามด้วยแนวคิดล่าสุด พัฒนาสินค้าจากท้องถิ่น เพื่อให้เป็นธุรกิจที่เกิดจากความเข้มแข็งของภูมิสังคมของที่นี่ ใส่ความรู้และเทคโนโลยีที่ไปกันได้กับพื้นที่ เช่น การพัฒนาน้ำดอกไม้ท้องถิ่น 5 ชนิด

เพื่อสร้าง "ความพิเศษ" ให้กับสินค้า นั่นคือไม่ใช่สิ่งที่จะซื้อหาจากแหล่งอื่นได้ ต้องดั้นด้นมาถึงอัมพวา !!

กระบวนการต่างๆ เหล่านี้ ค่อยๆ เกิดขึ้นจากการเรียนรู้จากการปฏิบัติ จนกลายเป็นวงจรของการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่เกือบครบเครื่อง

คงเหลือแต่โครงการพัฒนาผู้ประกอบการที่เริ่มทำจริงจังในปี 2551 หากทำได้สำเร็จ รท.พัชโรดมเชื่อว่า ต่อไปตลาดน้ำอัมพวาคงไม่ต้องลุ้นว่า เมื่อไรตลาดจะวาย เพราะความ "ยั่งยืน" จะเกิดขึ้นตามมา

การเกิดขึ้นของตลาดน้ำอัมพวาจึงผ่านกระบวนการคิด การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย และวิธีการไว้เสร็จสรรพ ไม่ใช่เกิดขึ้นแบบฟลุคๆ

ขณะเดียวกันเมืองก็กลับมามีชีวิต ด้วยการกลับคืนมาของคนรุ่นใหม่

"สังคมต่างจังหวัด ลูกหลานเรียนจบเข้ากรุงเทพฯ แต่ตอนนี้เด็กรุ่นใหม่เริ่มกลับเข้ามามากขึ้น ซึ่งเป็นทุนภายในของที่นี่ แต่ก็ต้องระวังการแทรกแซงจากทุนภายนอกมาใส่จะพังหรือไม่"

ดังนั้น ยุทธศาสตร์การพัฒนาผู้ประกอบการของชุมชนอัมพวาแห่งนี้ จึงเน้นให้คนท้องถิ่นในเจนเนอเรชั่นที่ 2 และ 3 กลับมาเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชน เพื่อผสานประสบการณ์การทำธุรกิจของคนรุ่นพ่อ เข้ากับความรู้ของคนรุ่นใหม่

"คนที่นี่เก่งในเรื่องประสบการณ์ เช่น คั่วกาแฟมาหลายช่วงอายุคน แต่ขาดความเก่งในเรื่องวิชาการ ทำอย่างไรให้กาแฟที่นี่มีขีดความสามารถเท่ากับสตาร์บัคส์ เจ้าของต้องเข้าใจจุดนี้ ซึ่งเป็นเรื่องที่คนรุ่นถัดมาจะมาสานต่อด้วยแนวคิดใหม่ๆ"

เมื่อริเริ่มใส่ความรู้เข้าไปในการพัฒนาสินค้าท้องถิ่น รท.พัชโรดมใช้วิธีประสานความร่วมมือไปยังเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญต่างๆ เช่น สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (สสว.) โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (iTAP) มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จ และกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เพื่อเข้ามาช่วยพัฒนาสินค้า ตอบโจทย์แต่ละด้าน

ทำให้อัมพวากลายเป็น "แล็ป" ขนาดใหญ่ของหน่วยงานต่างๆ เมื่อทดลอง เห็นผล ก็สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกมา

สร้างบรรยากาศที่คึกคัก ขณะนี้จึงเริ่มเห็นการกลับมาร่วมแจมของบรรดาเจนเอ็กซ์ เจนวาย มากขึ้นเรื่อยๆ

"ผู้ประกอบการที่อัมพวามีประมาณ 400-500 ราย ตอนนี้มีผู้ประกอบการสนใจร่วมโครงการประมาณ 10 ราย ในจำนวนนี้ประสบความสำเร็จแล้ว 2-3 ราย ผมตั้งเป้าหมายที่จะพัฒนาสินค้าไว้ที่ 10% (กว่า 40 ราย) ภายในระยะเวลาไม่เกิน 5 ปีจากนี้"

แม้จะเป็นตัวเลขไม่สูง แต่รท.พัชโรดมวางแผนไว้ว่า ผู้ประกอบการกลุ่มนี้เองที่เขาจะสร้างให้เป็นเหมือน "แม่เหล็ก" ดึงคนรุ่นใหม่ให้กลับมา เพราะกลับมาแล้ว เห็นโอกาสในการประกอบอาชีพ ดึงทั้งนักท่องเที่ยวเพราะเป็นสินค้าที่มีเอกลักษณ์ของท้องถิ่น

ไม่เพียงการพัฒนาผู้ประกอบการด้วยการพัฒนาสินค้าท้องถิ่น นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลอัมพวา ยังต้องการจะขยายไปถึงการสร้างแบรนด์ "อัมพวา" (Ampawa) แปะไว้บนแพ็คเกจจิงของสินค้าท้องถิ่น เพื่อสร้างความเป็น "โลคัล แบรนด์" และช่วยพัฒนาคุณภาพสินค้าท้องถิ่นอีกทาง

เพราะกว่าที่แบรนด์อัมพวาจะถูกประทับลงไปในสินค้าใด ต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบในหลายขั้นตอน

"อัมพวาแบรนด์ไม่ได้ไปครอบสินค้า แต่จะไปคู่กับแบรนด์เดิมของสินค้า คนที่มาเที่ยวอัมพวาบางคนอยากรู้ว่า อะไรคือสินค้าอัมพวา เพราะตอนนี้มีสินค้าที่อื่นมาขายกันมาก ที่เราทำได้คือ การใช้กลไกรัฐเข้าไปช่วยทำให้แบรนด์ท้องถิ่นแข็งแกร่งขึ้น เป็นมาตรฐานของโลคัลแบรนด์"

นี่คือความชาญฉลาดในการ "แยก" สินค้าท้องถิ่นกับสินค้าต่างถิ่น

ไม่เพียงเท่านั้น ความเจริญของที่นี่อาจจะดึงดูดให้นักลงทุนต่างถิ่นเข้ามาทำธุรกิจต่างๆ จนกระทบต่อธุรกิจของชาวบ้านในท้องถิ่น

แต่ผู้บริหารของชุมชนที่นี่ได้วางแผน "สกัด" ไว้แล้ว

รท.พัชโรดมบอกว่า วิธีง่ายๆ ที่จะจำกัดกลุ่มทุนเหล่านี้ก็คือ การกำหนดให้เปิดตลาดน้ำแค่ 3 วันต่อสัปดาห์

ทำให้แม้แต่เซเว่น อีเลฟเว่น ก็ยังไม่กล้าผุดขึ้นมาในพื้นที่ เพราะใครจะกล้ามาตั้งในเมื่อรีเทิร์น ออฟ อินเวนเวสท์ มีอยู่แค่ 12 วันต่อเดือน ตามการเปิดตลาดน้ำสัปดาห์ละ 3 วัน

"ไม่มีการพัฒนาใดที่สมบูรณ์แบบ เราไม่ได้ห้ามให้ธุรกิจอื่นเข้ามา ตอนนี้ก็มีบ้างแต่ยังไม่น่าวิตก เพราะพวกเขาจะถูกบังคับไปในตัว เนื่องจากตลาดน้ำเปิดแค่ 3 วัน เป็นเจตนาของเราที่ต้องการ keep ความเจริญไว้เท่านี้ เพราะไม่ต้องการให้ทุนภายนอกเข้ามาทำลายทุนภายใน เราต้องการทำให้อัมพวาเป็นเศรษฐกิจที่พึ่งพาตัวเองได้ มีภูมิคุ้มกันภายใน"

เป็นแนวทางการบริหารจัดการ ไม่ให้เกิดภาวะ "บูมแล้วเละ" เหมือนแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ

วิธีนี้นอกจากจะเปิดโอกาสให้เมืองได้พักแล้ว ชาวบ้านที่หันมาทำหน้าที่พ่อค้าแม่ขายในวันสุดสัปดาห์ ก็มีเวลา "ลงสวน" ไปสร้างผลผลิต เป็นการรักษาอาชีพดั้งเดิมของท้องถิ่นไว้อีกทาง และช่วยให้ชาวบ้านไม่ต้องพึ่งพิงรายได้จากแหล่งใดแหล่งหนึ่ง

อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้นักลงทุนต่างถิ่นขยาดไปโดยปริยาย คือ ราคาที่ดินที่อัมพวาซึ่งแพงลิ่ว โดยที่ดินติดริมน้ำราคาไร่ละ 4 ล้าน ไม่คุ้มค่าถ้าใครจะเข้ามาลงทุนแล้วมีรายได้เป็นกอบเป็นกำแค่ 12 วันต่อเดือน

ในมุมของการอนุรักษ์วิถีชีวิตชุมชนซึ่งต้องดำเนินควบคู่ไปกับความเจริญที่เข้ามาของอัมพวายังได้รับความสนับสนุนจากมูลนิธิชัยพัฒนาภายใต้ชื่อ "โครงการอัมพวา ชัยพัฒนานุรักษ์" ซึ่งเป็นโครงการที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำริให้นำที่ดินของประยงค์ นาคะวะรังค์ ชาวอัมพวาที่น้อมเกล้าฯ ถวายมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชน

ความสำเร็จของอัมพวาทำให้ที่ผ่านมามีหน่วยงานทั้งรัฐและเอกชนสนใจเดินทางมาดูงาน เพื่อสร้างเครือข่ายและแลกเปลี่ยนประสบการณ์

อย่างไรก็ตาม เขาเห็นว่า ไม่ใช่ทุกหน่วยงานจะประสบความสำเร็จจากการนำโมเดลนี้ไปใช้ เพราะขึ้นอยู่กับตัวแปรในเรื่องของกระบวนการ เป้าหมาย และปัญหาของแต่ละพื้นที่ที่แตกต่างกันออกไป

"อัมพวาโมเดล มันเหมือนกับเรารู้วิธีตัดเสื้อในแบบฉบับของเราให้ใส่แล้วสบายตัว ใครจะเอาโมเดลเราไปพัฒนา ก็ต้องไป dressing ใหม่ให้เหมาะสมกับตัวเอง"

รท.พัชโรดมย้ำว่า อัมพวาใช้การท่องเที่ยวเป็นแค่ "เครื่องมือ" เท่านั้น มิติที่สำคัญที่สุดในฐานะหน่วยงานรัฐ คือ คุณภาพชีวิต ซึ่งเป็นเป้าหมายของการพัฒนาชุมชน ซึ่งขณะนี้นอกจากชาวบ้านที่นี่จะมีคุณภาพชีวิตที่ดี จากการเพิ่มอาชีพ เพิ่มรายได้ ยังช่วยแก้ปัญหาสังคม เช่นปัญหาหนี้สิน

หรือที่เป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่ง คือ อัมพวาไม่มีคดีโจรผู้ร้ายเลย

ความสามารถในการแข่งขันของไทย

By wiwan

ในสัปดาห์ก่อน World Economic Forum (WEF) ได้ออกมาแถลงถึงรายงานการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่างๆ ในโลก ซึ่งประเทศไทยได้ตกลงมาจากอันดับที่ 34 ในปีที่แล้วมาเป็นอันดับที่ 36 ในปีนี้



การจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของ World Economic Forum ในปีนี้ จัดอันดับรวม 133 ประเทศ โดยดูในปัจจัยต่างๆ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มข้อกำหนดพื้นฐาน ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ สภาพแวดล้อมด้านสถาบัน (หมายถึง โครงสร้างกฎหมายและการบริหารจัดการ) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านนโยบายเกี่ยวกับเศรษฐกิจมหภาค ด้านสุขภาพและการศึกษาพื้นฐาน



กลุ่มเสริมประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 6 ด้าน คือ การศึกษาขั้นสูงและการฝึกอบรม ความมีประสิทธิภาพของตลาดสินค้า ประสิทธิภาพของตลาดแรงงาน ระดับการพัฒนาของตลาดการเงิน ความพร้อมของเทคโนโลยี ขนาดของตลาด (ตลาดใหญ่ทำให้ธุรกิจมีโอกาสขยายได้) และกลุ่มสุดท้าย คือ กลุ่มนวัตกรรมและระดับการพัฒนา ประกอบด้วย ระดับการพัฒนาของธุรกิจ และด้านนวัตกรรม



อย่างไรก็ดี เนื่องจากแต่ละด้านก็มีความเกี่ยวโยงกัน ทาง WEF จึงจัดกลุ่มประเทศเป็นสามกลุ่ม และให้น้ำหนักกับปัจจัยไม่เท่ากันในแต่ละกลุ่ม โดยกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ก็จะให้น้ำหนักกลุ่มข้อกำหนดพื้นฐาน 60% กลุ่มเสริมประสิทธิภาพ 35% และกลุ่มนวัตกรรม 5% กลุ่มประเทศที่กำลังเสริมสร้างประสิทธิภาพก็จะให้น้ำหนักกลุ่มข้อกำหนดพื้นฐาน 40% กลุ่มเสริมประสิทธิภาพ 50% และกลุ่มนวัตกรรม 10% ในขณะที่กลุ่มประเทศนวัตกรรม จะให้น้ำหนักคะแนนในกลุ่มข้อกำหนดพื้นฐาน 20% กลุ่มเสริมสร้างประสิทธิภาพ 50% และกลุ่มนวัตกรรม 30% เพื่อมิให้เกิดความแตกต่างกันจนเกินไป



การกำหนดกลุ่มนี้ แยกตามรายได้ต่อหัวของประชากรค่ะ โดยประเทศที่ประชากรมีรายได้ต่อหัวต่ำกว่า 2,000 ดอลลาร์ต่อปี ถือเป็นประเทศในกลุ่มที่ 1 คือกลุ่มกำลังพัฒนา ไทยเราอยู่กลุ่มที่ 2 ร่วมกันกับมาเลเซีย และจีน คือ มีรายได้ต่อหัวระหว่าง 3,000 ถึง 9,000 ดอลลาร์ต่อปี ส่วนญี่ปุ่น ฮ่องกง ไต้หวัน สิงคโปร์ อยู่กลุ่มที่ 3 คือ มีรายได้ต่อหัวมากกว่า 17,000 ดอลลาร์ต่อปี



จะเห็นว่าการแบ่งกลุ่มจะมีช่องว่างของรายได้ ทั้งนี้ ในระหว่างแต่ละกลุ่ม เขาจัดให้มีกลุ่มที่อยู่ตรงกลาง เรียกว่าอยู่ระหว่างกลุ่มที่ 1 กับ 2 เช่นอินโดนีเซียจะอยู่ในกลุ่มนี้ และกลุ่มที่อยู่ระหว่างกลุ่มที่ 2 กับ 3 เช่นประเทศเม็กซิโก และรัสเซีย



ในการจัดอันดับรวม ไทยเราได้อันดับที่ 36 โดยมีคะแนนรวม 4.56 เมื่อแยกคะแนนของด้านต่างๆ แล้วพบว่า กลุ่มข้อกำหนดพื้นฐานเราได้ 4.86 คะแนน คิดเป็นอันดับที่ 43 ส่วนกลุ่มเสริมประสิทธิภาพ ไทยเราได้ 4.46 คะแนน คิดเป็นอันดับที่ 40 และกลุ่มนวัตกรรม เราได้ 3.83 คะแนน มาเป็นอันดับที่ 47 รายละเอียดตามตารางด้านล่างค่ะ



ปัจจัย คะแนน อันดับ
กลุ่มข้อกำหนดพื้นฐาน 4.38 43
- สภาพแวดล้อมด้านสถาบัน 3.98 60
- ด้านโครงสร้างพื้นฐาน 4.57 40
- ด้านนโยบายเกี่ยวกับเศรษฐกิจมหภาค 5.37 22
- ด้านสุขภาพและการศึกษาพื้นฐาน 5.52 61
กลุ่มเสริมประสิทธิภาพ 4.46 40
- การศึกษาขั้นสูงและการฝึกอบรม 4.27 54
- ความมีประสิทธิภาพของตลาดสินค้า 4.46 44
- ประสิทธิภาพของตลาดแรงงาน 4.83 25
- ระดับการพัฒนาของตลาดการเงิน 4.49 49
- ความพร้อมของเทคโนโลยี 3.71 63
- ขนาดของตลาด (ตลาดใหญ่ทำให้ธุรกิจมีโอกาสขยายได้) 5.01 21
กลุ่มนวัตกรรมและระดับการพัฒนา 3.83 47
- ระดับการพัฒนาของธุรกิจ 4.37 43
- นวัตกรรม 3.29 57

ถ้านำคะแนนมาวิเคราะห์ก็จะเห็นว่า สิ่งที่เราได้อันดับดี มีเพียงขนาดของตลาด (ใหญ่) นโยบายด้านเศรษฐกิจมหภาค และประสิทธิภาพของตลาดแรงงานเท่านั้น นอกนั้นยังถือว่าไม่ดีเท่าที่ควร



ขอแยกสิ่งที่เราต้องรีบปรับปรุง เป็นสามกลุ่ม กลุ่มแรกใช้เงิน ก็จะสามารถทำให้ดีขึ้น คือ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ดังที่มีผู้วิจารณ์ในการสัมมนาของยูโรมันนี่ ว่า ไทยแทบจะไม่ได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มขึ้นมากนักในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ทำให้ประเทศอื่นๆ จะแซงไทยแล้ว หวังว่าเงินที่จะพัฒนาประเทศจากโครงการไทยเข้มแข็งระยะที่สองจะช่วยลบคำปรามาสนี้นะคะ



กลุ่มที่สอง ต้องใช้ทั้งเงินทั้งเวลา เพราะการจะทำให้เกิดผลจะต้องใช้เวลา คือ ด้านสุขภาพและการศึกษาพื้นฐาน การศึกษาขั้นสูงและการฝึกอบรม ความพร้อมของเทคโนโลยี และนวัตกรรม



และ กลุ่มสุดท้าย ต้องอาศัยเงินและการจัดการ คือ สภาพแวดล้อมด้านสถาบัน (โครงสร้างกฎหมายและการบริหารจัดการ) ความมีประสิทธิภาพของตลาดสินค้า ระดับการพัฒนาของตลาดการเงิน และระดับการพัฒนาของธุรกิจ



ในฐานะคนไทยที่อยากเห็นประเทศของเรากลับมาเป็นที่กล่าวขวัญของประชาคมโลกในทางที่ดี เป็นแบบอย่างที่ประเทศอื่นอยากดำเนินรอยตาม ดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นในช่วงประมาณ 20 ปีที่แล้ว ขอเรียกร้องให้รัฐบาล นักการเมือง ข้าราชการ และคนไทยทุกคน มาช่วยกัน ร่วมมือกัน เพื่อให้เราเป็นประเทศที่สามารถเจริญและเติบโตได้ตามศักยภาพที่แท้จริงของเราเอง ไม่ใช่ต้องมาสะดุดขาตัวเองเพราะการเมืองหรือค่านิยมที่ผิดๆ



"หากไทยไม่ช่วยไทย ก็แล้วใครจะมาช่วยเรา"

ทุนวัฒนธรรม โดย ศ.รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์

By drnakamon






ช่วงนี้รัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐ รวมไปถึงสถาบันการศึกษาเกือบจะทุกระดับชั้นได้รับกระแสทุนวัฒนธรรม เศรษฐกิจสร้างสรรค์ มากมาย มีข้อเขียนของ ศ.รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ มีนัยสอดคล้องและเป็นสิ่งที่น่าศึกษาอย่างยิ่ง



ข้อเขียนที่เน้นทุนวัฒนธรรมของอาจารย์น่าสนใจมาก มีเนื้อหาบางส่วนที่น่าศึกษา ดังนี้



.......วัฒนธรรมในระบบทุนนิยมโลก ว่าด้วยบทสังเคราะห์ทุนวัฒนธรรม วัฒนธรรมโลก สื่อมวลชน อาหารการกิน แฟชั่นและสันทนาการ ภาพยนตร์และดนตรี



ทุนวัฒนธรรม โดย ศ.รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ แนวความคิดของผู้เขียนว่าด้วยทุนวัฒนธรรม ซึ่งเริ่มก่อเกิดในปี 2536 ภายหลังจากที่ศึกษาและสังเกตพัฒนาการของระบบทุนนิยมโลกและระบบเศรษฐกิจไทย



โดยที่ผู้เขียนเชื่อว่า กลุ่มทุนวัฒนธรรม เป็นกลุ่มที่กำลังถีบตัวขึ้นมามีความสำคัญในสังคมโลกยุคปัจจุบัน และจะยังคงทรงอิทธิพลต่อไปในอนาคต อิทธิพลของรูดอล์ฟ ฮิลเฟอร์ดิง (Rudolp Hilferding, 1877-1941) มีต่อแนวความคิดเรื่องนี้อย่างปราศจากข้อกังขาหากปราศจาก Finance Capital (1910) การนำเสนอและพัฒนาแนวความคิดว่าด้วย ทุนวัฒนธรรม ยากที่จะเป็นไปได้



"...ด้วยเหตุที่วัฒนธรรมเป็นเรื่องของการดำเนินชีวิตตามปกติของมนุษย์ กระบวนการยอมรับแบบแผนการดำรงชีวิตและพฤติกรรมใดๆจนเป็นวิถีแห่งชีวิต จึงเป็นปมเงื่อนสำคัญในการทำความเข้าใจกระบวนการแปรวัฒนธรรมเป็นสินค้า..." (น. 18)



เราอาจจะเข้าใจเรื่องการพนันกับสินค้าวัฒนธรรมอย่างฟุตบอลมากขึ้นจากหนังสือเล่มน้อยๆนี้บ้างไม่มากก็น้อย



หนังสือเล่มนี้ให้คำอธิบายเชิงเศรษฐศาสตร์ถึงที่มาที่ไปด้านการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตในระบบทุนนิยม การพัฒนาทุนในโลก และการเปลี่ยนไปเป็นทุนวัฒนธรรม รวมทั้งลักษณะของทุนวัฒนธรรม



อ่านแล้วฟังยากแท้



เอาเป็นว่าเรามีพัฒนการจากการเกษตร มาเป็นอุตสาหกรรมการผลิตสินค้า แล้วตอนนี้ทุนนิยมเริ่มหาทางออกใหม่แล้ว ด้วยการเอาวัฒนธรรมเข้ามาแฝงไว้ในตัวสินค้า



ตัวอย่างง่ายๆคือเรื่องเพลง เรื่องภาพยนตร์ เรื่องอาหารการกิน (ร้านอาหารญี่ปุ่น เวียดนาม ร้านส้มตำ ฯลฯ) การแต่งกาย กีฬา (Football) ศิลปะ วรรณกรรม (Lord of the Rings, Harry Potter)



อุตสาหกรรมสินค้าสารพัดอย่างได้ประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอุตสาหกรรมผลิตเครื่องรับและอุปกรณ์ทีวี วิทยุ รวมทั้งคอมพิวเตอร์ ยังมีเรื่องอุปกรณ์กีฬา เสื้อผ้า รวมทั้งเกม คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ



สรุปง่ายๆว่า ทุนวัฒนธรรมมีลักษณะสำคัญคือ



มีนัยทางวัฒนธรรม
เป็นทั้งอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ
มีการผูกขาดในระดับหนึ่ง
สร้างความเข้มแข็ง ด้วยการควบและครอบกิจการ
ลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา (R & D)
พยายามสร้างอุปสงค์ที่มีต่อสินค้าตลอดเวลา
บริษัทข้ามชาติมักจะร่วมทุนกับกลุ่มทุนท้องถิ่น



นอกจากนี้ตอนท้ายของหนังสือก็ได้ชี้ให้เห็นถึงอิทธิพลของการค้า เทคโนโลยี และทีวีที่ทำให้เจ้าสินค้าวัฒนธรรมแพร่หลายไปทั่วโลกได้ รวมท้งโครงสร้างการผลิตที่เปลี่ยนจากโรงงานมาเป็นอุตสาหกรรมบริการกันมากขึ้นทุกวันๆ



ปาฐกถานี้ต้องการชี้ให้เห็นว่า ทุนหลัก (Dominant Capital) ย่อมแปรเปลี่ยนไปตามการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตในสังคมเศรษฐกิจโลก เมื่อสังคมมนุษย์ผ่านพ้นช่วงแห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) และสังคมเศรษฐกิจแปรจากระบบเศรษฐกิจเกษตรกรรม (Agri-cultural Economy) มาเป็นระบบเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(Industrial Economy) ทุนอุตสาหกรรม (Industrial Capital) ย่อมถีบตัวขึ้นมาเป็นทุนหลักของระบบเศรษฐกิจ



ด้วยตรรกะในทำนองเดียวกัน เมื่อสังคมเศรษฐกิจแปรเปลี่ยนเป็นระบบเศรษฐกิจบริการ (Service Economy) ทุนบริการ(Service Capital) ก็จะกลายเป็นทุนหลักแทนที่ทุนอุตสาห-กรรม



แต่โดยเหตุที่บริการประเภทต่างๆ มีการเติบโตกล้าแข็งแตกต่างกันอย่างมาก และหน่อทุนบริการบางประเภทยังไม่ปรากฏโฉมให้เห็น



ด้วยเหตุดังนี้เอง นักวิเคราะห์สังคมบางท่านจึงมองเห็นแต่การเติบโตของบริการทางการเงินการธนาคาร และมองเห็นแต่การเติบใหญ่ของทุนการเงิน (Finance Capital) ซึ่งเข้าไปแทนที่ทุนอุตสาหกรรม



ปาฐกถานี้ต้องการชี้ให้เห็นว่า ทุนบริการกำลังถีบตัวขึ้นมาเป็นทุนหลักในสังคมเศรษฐกิจโลกแทนที่ทุนอุตสาหกรรม แต่ในระยะเปลี่ยนผ่านที่หน่อทุนบริการยังไม่เติบใหญ่กล้าแข็ง ทุนวัฒนธรรม (Cultural Cap-ital) เป็นทุนหลักในระยะเปลี่ยนผ่านนี้ โดยที่ทุนวัฒนธรรมมีขาหยั่งทั้งในภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ


ในการที่จะเข้าใจการเติบโตของทุนวัฒนธรรม จำเป็นต้องเข้าใจเบื้องต้นเสียก่อนว่าทุนวัฒนธรรมคืออะไร ทุนวัฒนธรรมจะเติบใหญ่ได้ก็ต้องมีอุตสาหกรรมสินค้าวัฒนธรรม (Cultural Products)



ในที่นี้สินค้าวัฒนธรรม หมายถึงสินค้าและบริการที่มีวัฒนธรรมฝังตัวเป็นส่วนหนึ่งของสินค้าหรือบริการนั้น การทำความเข้าใจเกี่ยวกับการฝังตัวของวัฒน-ธรรม (Cultural Embodiment) ในตัวสินค้าหรือบริการ



หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง วัฒนธรรมที่ฝังอยู่ในตัวสินค้าหรือบริการ (Embodied Culture) จึงเป็นปมเงื่อนสำคัญในการวิเคราะห์



อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์การเติบโตของทุนวัฒนธรรมมิอาจแยกต่างหากจากการศึกษาการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตและพัฒนาการของทุนหลักในระบบทุนนิยมโลก l การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตในระบบทุนนิยมโลก l การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในสังคมโลกนั้นมีอยู่ตลอดเวลา



แต่ไม่มีช่วงใดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติที่สังคมเศรษฐกิจโลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเทียบเท่าช่วงเวลาในรอบสามทศวรรษที่ผ่านมานี้



ณ บัดนี้ ระบบเศรษฐกิจโลกมิได้มีการเปลี่ยนแปลงเฉพาะแต่โครงสร้างทางเศรษฐกิจเท่านั้น หากยังมีการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานทางเศรษฐกิจอย่างสำคัญด้วย เมื่ออังกฤษประสบความสำเร็จในการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรก (First Industrial Revolution)


ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 โครงสร้างทางเศรษฐกิจของอังกฤษเปลี่ยนจากระบบเศรษฐกิจเกษตรกรรม (Agricul-tural Economy) มาเป็นระบบเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (Industrial Economy) การวิ่งนำหน้าของอังกฤษในการพัฒนาอุตสาหกรรมก่อให้เกิดกระบวนการวิ่งไล่กวดทางเศรษฐกิจ (Catching-up Process)



ประเทศต่างๆ พยายามวิ่งไล่กวดอังกฤษในการพัฒนาอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นเยอรมนี ฝรั่งเศส รัสเซีย และสหรัฐอเมริกา ก่อให้เกิดประเทศอุตสาหกรรมรุ่นที่สอง รุ่นที่สาม และรุ่นต่อๆ มา



การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สอง (SecondIndustrial Revolution) ซึ่งเกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาเพียงแต่เร่งเร้ากระบวนการวิ่งไล่กวดทางเศรษฐกิจให้มีความเร็วเพิ่มขึ้น แต่ที่สำคัญยิ่งก็คือ มีผลในการเปลี่ยนแปลงศูนย์อำนาจและศูนย์กลางการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ



โดยข้ามฟากมหาสมุทรแอตแลนติกนั้นเอง นับตั้งแต่เมื่อเกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรกจวบจนสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรปและทวีปอเมริกาเหนือทยอยกันเปลี่ยนโฉมหน้าเป็นประเทศอุตสาหกรรม



การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตดังกล่าวนี้เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบระหว่างประเทศ (International Comparative Advantage) เมื่อความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบแปรเปลี่ยนไป โครงสร้างการผลิตย่อมต้องปรับเปลี่ยนตามการเปลี่ยนแปลงของความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ


ด้วยเหตุที่การเปลี่ยนแปลงความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบเป็นไปอย่างเชื่องช้า โครงสร้างการผลิตจึงเปลี่ยนแปลงอย่างเชื่องช้าตามไปด้วย ความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบจะเปลี่ยนแปลงไปเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทรัพยากรที่เป็นปัจจัยการผลิต (Factor Endowment)



และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงราคาสัมพัทธ์ของปัจจัยการผลิต ในประวัติศาสตร์ของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมเก่า (Old Industrial Countries = OICs) โครงสร้างการผลิตมักจะแปรเปลี่ยนจากการผลิตที่ใช้แรงงานเข้มข้น (Labour-intensive Production) ไปสู่การผลิตที่ใช้เครื่องจักรเข้มข้น (Capital-intensive Production)



ตามมาด้วยการผลิตที่ใช้สารสนเทศเข้มข้น (Information-intensive Production) ในยุคสมัยที่สังคมเศรษฐกิจยังมีแรงงานราคาถูก การผลิตที่ใช้แรงงานเข้มข้นจะครอบงำโครงสร้างการผลิต เมื่อแรงงานราคาถูกหมดไป



การเปลี่ยนแปลงราคาสัมพัทธ์ของปัจจัยการผลิตดังกล่าวนี้ย่อมทำให้มีการใช้เครื่องจักรทดแทนแรงงาน จนการผลิตที่ใช้เครื่องจักรเข้มข้นกลายเป็นการผลิตหลักของระบบเศรษฐกิจ ในท่ามกลางการวิ่งไล่กวดทางเศรษฐกิจในสังคมโลกในช่วงเวลากว่าสองศตวรรษที่ผ่านมานี้



ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อกระบวนการวิ่งไล่กวด ประเทศที่สามารถหาประโยชน์จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีย่อมเร่งความเร็วในการวิ่งไล่กวดได้


สารเป็นไปอย่างรวดเร็ว และสารสนเทศมีความสมบูรณ์มากขึ้นเท่านั้น หากยังเปลี่ยนแปลงแบบแผนพื้นฐานในการสื่อสารของมนุษย์อีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้น ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ บทบาทและอิทธิพลของสื่อมวลชนที่มีต่อสังคมมนุษย์ ทั้งในการถ่ายทอดกระบวนทัศน์ทางความคิด แบบแผนการดำรงชีวิต ระบบคุณค่าและบรรทัดฐานทางจริยธรรมเพิ่มขึ้นจากเดิมเป็นอันมาก ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีวัสดุภัณฑ์สมัยใหม่ก็มีผลกระทบต่อแบบแผนการดำรงชีวิตของมนุษย์ ทุกวันนี้ผู้คนพากันกล่าวขวัญถึงการปฏิวัติเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology Revolution) และการปฏิวัติเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology Revolution) หลงลืมและมิได้นึกถึงการปฏิวัติเทคโนโลยีวัสดุภัณฑ์สมัยใหม่ (New Materials Techno-logy Revolution) ในช่วงเวลา 5 ทศวรรษที่ผ่านมานี้ วัสดุภัณฑศาสตร์ (Materials Science) รุดหน้าไปเป็นอันมาก วัสดุภัณฑ์สมัยใหม่ทีละชนิดสองชนิดเข้ามามีบทบาทในแบบแผนการดำรงชีวิตของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นพลาสติก (Plastics) เซรามิก (Ceramics) ซีเมนต์สมัยใหม่ที่เรียกว่าMDF Cement (Macro-defect-free Cement) โลหะผสม (Metal Alloys) กาวพิเศษ (Superglues) เซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor) และใยแก้ว (Fiber Optics) วัสดุภัณฑ์สมัยใหม่เหล่านี้เข้ามาแทนที่วัสดุภัณฑ์ดั้งเดิม และมีส่วนสำคัญในการเปลี่ยนแปลงวิถีการดำรงชีวิตและสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ ทั้งในครัวเรือน สถานที่ทำงาน ชุมชน และบ้านเมือง


ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.matichonbook.com/mail.php?send=2&id=470426104200





ข้อมูลเกี่ยวข้อง.. ทุนวัฒนธรรม-เล่นแร่แปร /สยามรัฐรายวัน.



นายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กำลังเดินหน้าปฏิบัติการโครงการไทยเข้มแข็งงบประมาณ 2.5 แสนล้านบาท ปี 2553–2555 มีเนื้อเศรษฐกิจสร้างสรรค์ Creative Economy ด้วยเม็ดเงิน 20,000 ล้านบาท โดยมีกระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) รับงบส่งเสริมอุตสาหกรรมศิลปวัฒนธรรม 30 % หรือ 6,000 ล้านบาท


นายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กล่าวเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ในรายการเชื่อมั่นประเทศไทย(6ก.ย.) ตอนหนึ่ง “คือการใช้ความ คิด ใช้ภูมิปัญญามีอยู่ต่อยอดศิลปวัฒนธรรมบ้าง ทำในส่วนของอุตสาหกรรมบันเทิงบ้าง ทำในเรื่องของการออก แบบผลิตภัณฑ์มาเป็นอุตสาหกรรม และในส่วนงานวิจัย งานบริการอื่นๆ สามารถเพิ่มมูลค่าการผลิตภายในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าบริการ จะเป็นภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม จะเป็นการท่องเที่ยว หรืออะไรก็แล้วแต่เพิ่มมูลค่าผ่านกระบวนการของความคิดสร้างสรรค์ ในส่วนรัฐบาลจะปรับปรุงกลไก องค์กรต่างๆ เพื่อจะเอื้อต่อการบริหารเศรษฐกิจสร้างสรรค์ให้ครบวงจร มีบูรณาการ ความเป็นเอกภาพ จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น”



พลิกไปบทบาทวธ. ที่สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ(สวช.) จัดประชุมสัมมนา “จากทุนทางวัฒนธรรม...สู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์” เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา (4ก.ย.) มีศิลปินแห่งชาติ ศิลปินพื้นบ้าน ผู้ประ กอบการด้านศิลปวัฒนธรรมเข้าร่วม 300 กว่าคน



ธีระ สลักเพชร รมว.วัฒนธรรม กล่าวว่า “วธ.เสมือนต้นน้ำขับเคลื่อนงานด้านศิลปวัฒนธรรม โดยจะแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาให้การทำงานเป็นไปอย่างมีระบบ”



ธีระ ให้ความเห็นเพิ่ม จะนำศูนย์วัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน1,300 กว่าแห่งทั่วประเทศ ลงบนแผนที่ทางวัฒนธรรมของระบบสารสนเทศเนคเทค กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี(วท.) เพื่อให้ผู้ประกอบการหรือนักลงทุนได้ติดต่อกับเจ้าของทุนทางปัญญาโดยตรงในแต่ละท้องถิ่น หรือจะเป็นในรูปแบบการเสนอขอซื้อผลงานก็ย่อมได้ ทั้งจะให้สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดทำหน้าที่รวบรวมทุนทางวัฒนธรรมทั่วประเทศ เพื่อประสานข้อมูลไปยังกระทรวงพาณิชย์ ในการจดสิทธิบัตรหรือทรัพย์สินทางปัญญาอีกด้วย



ในเนื้องานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ยังพ่วง โครงการเมืองสร้างสรรค์ หรือ ครีเอทีฟ ซิตี้ (Creative City) ภายใต้การดูแลรับผิดชอบของสำนักนายกรัฐมนตรี โดยเบื้องต้นจะมีการแบ่งโซนพื้นที่รับผิดชอบตามแต่ละจังหวัด ให้แต่ละกระทรวงดำเนินการ



นายธีระ กล่าวว่า “ในส่วนของวธ.นั้น คาดว่าจะได้รับมอบหมายให้ดำเนินการเกาะรัตนโกสินทร์ และอุทยานประวัติศาสตร์ที่กรมศิลปากรดูแลอยู่”



แม้จะยังไม่มีบทสรุปชัดเจนของโครงการดังกล่าวที่วธ.จะขับเคลื่อน แต่ในมุมมอง ธานินทร์ ผะเอม ที่ปรึกษานโยบายและแผนงานสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สภาพัฒน์) ให้มุม มองอีกด้านหนึ่ง “การนำทุนทางวัฒนธรรมมาใช้เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ต้องบอกก่อนว่าไม่ใช่ของใหม่ รัฐบาลที่ผ่านมาก็ทำกันอยู่แล้ว เพียงแต่ไม่มีเจ้าภาพชัดเจนเหมือนครั้งนี้ จะมีการตั้งองค์กรขึ้นมาเป็นผู้รับผิดชอบ เมื่อการลงทุนนั้นมีปัญหาเกิดขึ้นจะได้เข้าหาองค์กรนั้นถูก”



ธานินทร์ ผะเอม สะท้อน “ที่ผ่านมาผู้ประกอบการบ้านเราขาดการต่อยอด เพราะไม่ได้รับการสนับสนุนเงินลงทุน ในขณะที่นักลงทุนข้างนอกเข้ามาลงทุนกลับได้รับการสนับสนุน” และเสริมภาพอุปนิสัยคนไทย “เราเองพอขายอะไร ก็มักจะพอใจในสิ่งนั้น ดูอย่างอาหารไทยโด่งดังในต่างประเทศ แต่กลับเพิ่มมูลค่าได้น้อย อย่างไรก็ดีมีการปรับตัวมากขึ้น อย่างปลาร้าแห้ง มีการบรรจุผลิตภัณฑ์ในรูปสากล”



อีกเช่นกันในความเป็นสินค้าไทย คนไทยด้วยกันไม่ค่อยนิยมแบรนด์ไทย เพราะดูน่าเชื่อถือน้อย แค่เสื้อผ้าที่เราใส่กัน เส้นใยฝ้ายทำจากไทย แต่ต้องติดแบรนด์เนมฝรั่งจึงจะน่าเชื่อถือ ถึงอย่างนั้นก็ตามหลังๆ มานี่ผู้ผลิตเริ่มจะกล้าใส่แบรนด์เนมไทยมากขึ้น ดังนี้แล้วรัฐบาลต้องสนับสนุนอย่างจริงจัง เพราะเป็นฝีมือสร้างสรรค์ของคนไทยระดับกลางและชุมชน ส่วนบริษัทมหาชนนั้นไม่ต้องห่วง เขายืนได้อยู่แล้ว



ธานินทร์ ย้ำ “สิ่งที่สำคัญที่สุดของการทำมาค้าขาย หรือแม้แต่การบริการก็ตาม คือเรื่องความซื่อ สัตย์ต่อลูกค้า ไม่ใช่พอเริ่มต้นก็คิดจะโกงกันแล้ว อย่างนี้แล้วไม่ว่าใครก็เสียความรู้สึกทั้งนั้น”



แน่ล่ะ ธรรมชาติของผู้ประกอบการก็ย่อมจะวิตกโครงการของรัฐบาล เพราะทุกครั้งที่มีการเปลี่ยน แปลงทางการเมือง โครงการนั้นก็มักจะล่มหรือถูกทอดทิ้งตามไปด้วย



ธานินทร์ ให้แง่คิด “ผมว่านี่อันตราย” และว่า “คนที่มีพลังและเป็นกระบอกเสียงผ่านสื่อได้ ก็คือศิลปิน เพราะท่านเหล่านี้พูดอะไรขึ้นมาแล้ว รัฐบาลเป็นต้องเจ็บทุกที ดังนั้นแล้วอยากให้ผู้ผลิตงานด้านศิลปวัฒนธรรมเกาะกลุ่มกันเป็นพลัง รัฐบาลไหนจะกล้าปฏิเสธ”



ธานินทร์ ทิ้งท้าย “จริงๆ เราไม่ห่วงเสถียรภาพของรัฐบาล แล้วโครงการนี้มันก็อยู่ในกระแสสังคม ซึ่งทว่าไปใครจะมาเล่นแปรธาตุก็คงจะทำลำบากด้วย เพราะประชาชนจับตามองเหมือนกรณีโครงการอื่นๆ ก่อนหน้านี้”

"ไทย ศูนย์กลางอาเซียน กับทิศทางการขับเคลื่อนด้วยทุนวัฒนธรรม-เศรษฐกิจสร้างสรรค์"

By drnakamon





น่าจะถือเป็นโอกาสดีที่ประเทศไทย ในฐานะหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งอาเซียน ได้รับตำแหน่งประธานและเลขาธิการอาเซียนในคราวเดียวกันในการจัดประชุมอาเซียนซัมมิท หัวหิน-ชะอำ ที่เพิ่งพ้นไป (27 ก.พ.-1 มี.ค.2552)



แม้ทั่วโลกจะคอยฟังว่ากลุ่มอาเซียนจะมีไม้เด็ดอะไรที่จะเสนอเพื่อแก้ไขปัญหาของโลกโดยเฉพาะปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ในภูมิภาคอาเซียนเอง



ดังนั้น แถลงการณ์ร่วมอาเซียนภายใต้ชื่อปฏิญญาอาเซียน หัวหิน-ชะอำ จึงน่าจะเป็นการรอคอยของนักวิเคราะห์ทั่วโลกเสียมากกว่า



แม้จะรู้ว่าอาเซียนซัมมิทเป็นเรื่องของความพยายามเปิดโต๊ะลงนามข้อตกลงเปิดการค้าเสรี (Free Trade Area) หรือเอฟทีเอ ระหว่างกัน ของบรรดาผู้นำอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ อย่างเป็นด้านหลักก็ตาม



เป็นที่ทราบกันว่า การประชุมครั้งนี้ ประเทศไทยต้องเร่งลงนามข้อตกลงกรอบการค้าทั้ง 4 กรอบ 14 ฉบับข้อตกลง



ทั้งกรอบข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ (AANZFTA) กรอบข้อตกลงการค้าเสรีอาเซียน-อินเดีย กรอบความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน-จีน และกรอบข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-เกาหลี



โดยเฉพาะเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยยังโงหัวไม่ขึ้น และนักวิเคราะห์สายเศรษฐกิจหลายสำนักพยากรณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจด้วยตัวเลขน่าเป็นห่วง ถึงขั้นไทยอาจเจอกับตัวเลขติดลบถึง 4%



ในขณะที่การประมาณการของ ธปท.ได้คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของไทยในปี 2552 จะขยายตัวอยู่ที่ระหว่าง 0-2 เปอร์เซ็นต์ และมูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส โดย มูดี้ส์ อีโคโนมี ดอต คอม สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือชั้นนำของโลก



อเลสแตร์ ชาน นักเศรษฐศาสตร์ประจำสำนักงานสาขาซิดนีย์ ออสเตรเลีย ออกบทวิเคราะห์ขยี้ไทยซ้ำว่า ตัวเลขจีดีพีของไตรมาสที่ 4 ของประเทศไทยกำลังวิ่งเข้าหาความเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบเลวร้ายที่สุดในเอเชีย



แม้ว่านายกฯ ของประเทศไทย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในฐานะประธานอาเซียนจะป่าวประกาศเป้าหมายของอาเซียน



ภายใน พ.ศ.2558 ประเทศ 10 ชาติสมาชิกอาเซียนจะหลอมรวมกันกลายเป็นประชาคมอาเซียนเปลี่ยนบทบาทของสมาคมอาเซียนให้เป็นของประชาชนโดยประชาชนเพื่อประโยชน์ของประชาชนชาวอาเซียนทุกคน



พูดอย่างง่ายก็คืออีก 6 ปีจากนี้ไป ประชากรของ 10 ประเทศอาเซียน 570 ล้านคน จะรวมกันเป็นหนึ่งเดียว ประชาคมอาเซียนจะมีชีวิตอย่างสุขสบาย



ทั้งแง่ของการเป็นประชาชนคนไทย การเป็นประชาชนคนอาเซียน และการเป็นประชาชนพลเมืองโลกที่มีคุณภาพ



อาเซียนจะเป็นเอกภาพ เป็นดินแดนแห่งความเสมอภาค เป็นดินแดนที่ชาวอาเซียนซึ่งมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมจะอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืนและกลมเกลียว เป็นการรวมพลังของชาวอาเซียนที่มีความแข็งแกร่งอย่างแท้จริง



ฟังดู แม้จะมองว่าเป็นวาทกรรมที่สวยหรูอยู่บ้างก็ตาม



แต่ก่อนที่จะไปถึงความหวังอันอีกยาวไกล ที่อาเซียน 10 ประเทศ 570 ล้านคนจะหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียว



ถ้านายกฯ อภิสิทธิ์ ช่วยทำให้คนไทย 63 ล้านคน ที่ยังแตกแยกกันเป็นสีต่างๆ ในประเทศให้เป็นหนึ่งเดียวได้ด้วยก็น่าจะเป็นเรื่องน่ายินดี



เพราะถ้าคนชาติเดียวกันยังหลอมรวมกันไม่ได้ จะให้ 10 ชาติอาเซียน 570 ล้านคนหลอมรวมกันเป็นหนึ่งเดียวก็คงไม่ง่าย



การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน 10 ประเทศ แม้เชิงสัญลักษณ์ของการประชุมจะผ่านไปแล้ว โดยทิ้งแถลงการณ์ร่วมที่เรียกร้องให้ทั่วโลกร่วมมือกัน เพื่อปฏิรูประบบสถาบันการเงิน และต่อสู้กับปัญหาลัทธิปกป้องผลประโยชน์ทางการค้าเอาไว้ให้อ่านเพียงไม่กี่หน้ากระดาษ



ข้อนี้ทำให้นักวิเคราะห์มองว่าอาเซียนยังเป็นกลุ่มประเทศที่ไร้เขี้ยวเล็บแก้วิกฤติเศรษฐกิจในภูมิภาคเช่นเดิม



เริ่มจาก นายเดวิด โคเฮน นักวิเคราะห์และเป็นนักเศรษฐศาสตร์ประจำภูมิภาคอาเซียน มองว่าจากสถานการณ์ยุโรปและสหรัฐซึ่งเป็นตลาดหลักของอาเซียนลดการบริโภคสินค้าของกลุ่ม



ทำให้กลุ่มอาเซียนไร้อำนาจมากขึ้นที่จะคุ้มครองแรงงานนับล้านตำแหน่งที่เสี่ยงจะตกงาน โดยเขาไม่เห็นว่าแถลงการณ์ของกลุ่มอาเซียนจะสามารถสร้างความแตกต่างอย่างฉับพลันได้จริง



เนื่องจากปัญหาของกลุ่มอาเซียนที่มีอยู่นั้นก็เป็นเรื่องใหญ่โตอยู่แล้ว ขณะที่นักวิชาการแห่งมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอฟกิ้น อย่างนายบริเจ็ท เวลท์ มีความเห็นคล้ายๆ กัน ว่ากลุ่มอาเซียนยังดูเหมือนเป็นกลุ่มทางเศรษฐกิจที่ถูกปฏิเสธและมาตรการของอาเซียนที่ออกมาขาดสีสันและจะไร้ประสิทธิภาพ



แม้ว่าอาเซียนจะแสดงให้เห็นว่าเข้าใจต่อผลกระทบทางเศรษฐกิจโลกต่อภูมิภาคนี้ก็ตาม และมองว่ามาตรการสำคัญๆ อาทิ การทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ยังคงเป็นเพียงการตกลงเชิงสัญลักษณ์ ขาดเนื้อหาสาระที่เป็นประเด็นหลักๆ



อีกทั้งยังมองว่าผู้นำชาติอาเซียนทั้งหลายยังคงเก็บความเป็นชาตินิยมและการปกป้องผลประโยชน์ทางการค้าของชาติตนเองไว้อย่างลับๆ และไม่ได้เน้นหาแนวทางเพื่อแก้ปัญหาในภูมิภาคนี้อย่างจริงจังเท่าที่ควร



ในมุมของวอชิงตัน โพสต์ ก็เช่นกัน คือมองว่าโลกยังไม่เห็นมาตรการแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่ชัดเจนจากการประชุมอาเซียน โดยมองว่าตลอด 10 ปีที่ผ่านมา



การเติบโตของภูมิภาคนี้ มาจากการส่งออกเป็นด้านหลัก ทุกวันนี้ชาติสมาชิกสมาคมอาเซียต่างก็ได้รับผลประทบหนัก จากความต้องการที่ลดลงในตลาดใหญ่ๆ อย่างในสหรัฐและกลุ่มสหภาพยุโรป ทั้งสิงคโปร์ และไทย ต่างก็ได้รับสัญญาณของการหดตัวของจีดีพี มาตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีที่แล้ว



คาดว่าสถานการณ์อาจเลวร้ายได้ เมื่อพิจารณาดัชนีการบริโภคเดือน ม.ค.-ก.พ. ซึ่งลดลงอย่างน่าใจหาย ค่าเงินบาทแข็ง ตัวเลขการส่งออก การบริโภค การท่องเที่ยว การบริการจะติดลบ



หากสถานการณ์ยังคงเป็นอย่างนี้ไปอีกระยะ คนอาจเกิดความตระหนก คนไม่กล้าใช้เงิน



ขณะที่มาของรายได้รัฐยังไม่ชัดเจน ตลาดทุนจะมีผลกระทบเป็นสองเท่า ลดต้นทุน ลดการผลิต ลดความเสี่ยงอันเนื่องจากเศรษฐกิจหดตัว และการเมืองร้อน ประเทศอาจอยู่ในภาวะที่น่าเป็นห่วงอยู่ไม่น้อย



ในที่สุดแล้ว อาเซียนซัมมิท อาจถูกมองมุมร้ายว่าเป็นเพียงการประชุมเตรียมข้อมูลเสนอขอกู้เงินช่วยเหลือในที่ประชุมของจี 20 ที่ลอนดอนในเดือน เม.ย.



นับเป็นการรอปาฏิหาริย์ให้กลุ่มจี 20 ชุบชีวิตโดยแท้ หากเป็นเช่นนั้นจริง อาเซียนก็อาจจะเป็นแค่สิ่งจับต้องไม่ได้อีกเช่นเคย



แม้ว่าจะอยู่ในช่วงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เข้มแข็ง โดยใช้ยุทธศาสตร์ทุนวัฒนธรรมมาเป็นแกนกลางเพื่อใช้นโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็งอย่างที่รัฐบาลกำลังเหยียบคันเร่งเต็มที่อยู่ขณะนี้ก็ตาม

"เศรษฐกิจสร้างสรรค์…แล้วไงต่อ"

By drnakamon
วิริยะ สว่างโชติ/ ข้อเขียนเรื่อง เศรษฐกิจสร้างสรรค์…แล้วไงต่อ





ช่วงไม่กี่วัน/เดือนที่ผ่านมา “เศรษฐกิจสร้างสรรค์” (creative economy) ได้กลายเป็นคำพูดที่ติดปากของหลายๆ คนไม่ว่านักออกแบบ นักประดิษฐ์คิดค้น นักธุรกิจ ตลอดจนถึงรัฐมนตรี(ช่วย)หลายท่านและรวมถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี หากเราตามข่าวเศรษฐกิจในหน้าหนังสือพิมพ์ เราจะพบว่ารัฐบาลปัจจุบันใช้งบประมาณในหลายๆ โครงการ (เริ่ม) ที่ดูเป็นการผัน (ผลาญ???) งบประมาณไปใช้กับวาทกรรมนี้ได้อย่างไม่น่าเชื่อ แต่หลายโครงการก็น่าจะส่งผลได้อย่างน่าพอใจ (หวังเช่นนั้นจริงๆ)



แนวความคิดนี้ยังถูกโยงไปเป็นนโยบายในการแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งช่วงเดือนมีนาคม 2552 ที่ผ่านมา TCDC ได้จัดเสวนาที่ตั้งคำถามทันยุคทันสมัยว่า “Creative Economy จะเป็น ‘ทางรอด…ทางเลือก’ ให้กับเศรษฐกิจไทยได้หรือไม่ ?” แต่พอแนวโน้มเศรษฐกิจเริ่มส่อแววดีขึ้น แนวคิด “เศรษฐกิจสร้างสรรค์” ก็ผันไปเป็นความฝันของ “การสร้างมูลค่า” ทางเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืนด้วยคำว่า “Creative Thailand”



ประเด็นที่เราน่าจะต้องถามคือ ทำไมต้องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ? หากมันเป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (จริง!!!)….แล้วไง (ต่อ)?


ที่จริงการเกิดขึ้นของนโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นนโยบายด้านการส่งเสริมอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับงานทางศิลปะ (Art-Related Industries) เกิดจากการปรับตัวครั้งใหญ่ของนโยบายเศรษฐกิจโลกช่วงทศวรรษ 1990 โดยเริ่มแนวคิดในรัฐบาลของออสเตรเลียและเกาหลี (แต่รัฐบาลที่ริเริ่มแนวคิดนี้ในทั้งสองประเทศแพ้การเลือกตั้งเลยไม่ได้มีการประกาศใช้)



นโยบายที่ว่านี้มาเกิดเป็นรูปเป็นร่างจริงในอังกฤษ สมัยที่โทนี่ แบลร์ นำพรรคแรงงาน ด้วยคำขวัญ “แรงงานใหม่” หรือ “New Labour” (กลับมาเป็นรัฐบาลหลังจากที่พรรคอนุรักษ์นิยมครองอำนาจมาเกือบ 20 ปี) เมื่อ ปี ค.ศ. 1997 รัฐบาลของเขาได้มีการประกาศแผนงานที่เรียกว่า “Creative Industries Task Force 1998” (CITF 1998) ขึ้นในปี ค.ศ.1998



โดยหวังว่าจะเป็นแนวทางของการสร้างเสริมศักยภาพเศรษฐกิจของประเทศอังกฤษให้กลายเป็นประเทศชั้นนำใน “อุตสาหกรรมสร้างสรรค์” หรือ “Creative Industries”



สำหรับในแผนงานที่ว่านี้นิยามอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ไว้ว่า “กิจกรรมต่างๆ อันมีที่มาจากการสร้างสรรค์ การพัฒนาทักษะและความสามารถ อันมีผลต่อการสร้างมูลค่าและการสร้างงาน รวมทั้งคำนึงถึงเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาของผู้ที่สร้างผลงาน” (CITF 1998)



ในแผนงานนี้ได้จัดแบ่งประเภทงานอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ไว้ 16 ประเภท ดังนี้ โฆษณา, งานสถาปัตยกรรม, ศิลปะ, ตลาดของเก่า, หัตถกรรม, การออกแบบ, การออกแบบแฟชั่น, ภาพยนตร์, ซอฟต์แวร์บันเทิง, ดนตรี, ทีวี, วิทยุ, ศิลปะการแสดง, สิ่งพิมพ์, และการออกแบบซอฟต์แวร์




จะว่าไป “ความคิดสร้างสรรค์” ไม่ว่าจากงานศิลปะ การออกแบบ อุตสาหกรรมบันเทิง หรืออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ฯลฯ กับสร้างมูลค่าเศรษฐกิจไม่ใช่เพิ่งเกิด ในแง่การผลิต การบริโภค สินค้าและบริการโดยตัวของมันเองมีการสร้างมูลค่าเพิ่มผ่านปัจจัยด้านความคิดสร้างสรรค์อยู่ทั้งนั้น



แต่ที่ความสำคัญของมันมาเกิดขึ้นนั้นเพราะมันเพิ่งถูกเขียนในไวยากรณ์ของนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจ ภาพชัดเจนตอนที่โทนี่ แบลร์ ประกาศใช้ Creative Industries Task Force 1998 ได้จัดตั้งหน่วยงานใหม่ Department of Culture, Media and Sport (ที่ปรับยุบหน่วยงานมาจาก Department of National Heritage และรวมกับหน่วยงานที่ก่อตั้งขึ้นใหม่) ขึ้นมารับผิดชอบดูและงานนี้โดยตรง (ร่วมกับหลายหน่วยของรัฐและเอกชน) ได้ทำให้ “ความคิดสร้างสรรค์” เป็นเรื่องจัดการได้ (โดยรัฐ) ไม่ใช่เป็นเรื่องของพรสวรรค์หรือทักษะฝึกฝนเท่านั้น



ในปัจจุบันหากจะคิดถึงอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในยุคของแบลร์ ก็น่าจะคิดถึงวงดนตรีอัลเทอร์อย่าง Oasis และทีมฟุตบอลแมนยูไนเต็ดที่กลายเป็นภาพลักษณ์ของ “Cool Britannia”


ในอีกแง่มุมหนึ่งที่กล่าวถึงกันสำหรับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ก็คือ นโยบายเศรษฐกิจในแบบเสรีนิยมใหม่ (Neo-liberal economic) โดยกระแสของเสรีนิยมใหม่ที่ว่านี้เกิดจากการปรับตัวของความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและทุนในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจในยุคกลาง 1970 โดยรัฐและกลุ่มทุนหันมาให้ความร่วมมือกับการสร้างมูลค่าเศรษฐกิจ- เทคโนโลยี – วัฒนธรรม- ทรัพย์สินทางปัญญาของทุนนิยมแบบยุคหลังอุตสาหกรรม (post-industrial age)



โดยอุตสาหกรรมจะเปลี่ยนไป ไม่เน้นการลงทุนในการผลิตขนาดใหญ่ เน้นเทคโนโลยี ไม่จำเป็นต้องมีระบบสายการผลิต ไม่จ้างแรงงานจำนวนมาก มูลค่าสามารถเกิดจากระบบลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร ทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งเป็นฐานของระบบเศรษฐกิจในระบบทุนนิยม




เสรีนิยมใหม่ที่ว่านี้ได้สร้างเงื่อนไขใหม่ของระบบเศรษฐกิจโลกด้วย ทั้งนี้เราจะเห็นว่าเริ่มตั้งแต่ยุคของเรื่องภาษีศุลกากรระหว่างประเทศ (GATT) ยุค 1990 ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นองค์กรการค้าโลก (WTO) เราจะเห็นว่ารัฐในประเทศมหาอำนาจทุนนิยมและประเทศกำลังพัฒนา



ประเทศยากจน รับผลโดยตรง เช่นในหลายประเทศต่างๆ (รวมทั้งไทย) ต้องมีการปรับปรุงกฎหมายลิขสิทธิ์ เรื่องสิทธิบัตร การปกรองทรัพย์สินทางปัญญาทั้งในประเทศและการค้าระหว่างประเทศ ประเด็นที่สำคัญที่ถูกกล่าวถึงมากก็คือทรัพย์ทางปัญญาในสินค้าอุปโภคบริโภค (ซึ่งรวมถึงสินค้าอุตสาหกรรมบันเทิง) และสิทธิบัตรยา



เราจะเห็นว่าเรื่องดังกล่าวเริ่มในยุคที่รัฐต่างใช้นโยบายส่งเสริมที่รัฐและเอกชนร่วมกันจัดการระบบเศรษฐกิจ ไม่มีมือที่มองไม่เห็นแบบยุคเสรีนิยมเดิมอีกต่อไป



แต่การใช้นโยบาย ใช่ว่าจะเป็นการส่งเสริมศักยภาพของความคิดสร้างสรรค์ของเสรีนิยมใหม่เสมอไป บางครั้งก็กลับเป็นตัวลดทอนเสียด้วยซ้ำ ดังตัวอย่างเช่น ในเวทีการประชุมแกตต์ที่กรุงบรัซเซล ประเทศเบลเยี่ยมในปี ค.ศ. 1993 ได้เกิดข้อถกเถียงด้านสื่อวัฒนธรรมในระดับนโยบายเป็นครั้งแรก



โดยมีแกนนำที่มาจากสหภาพแรงงานผู้ผลิตภาพยนตร์ของยุโรปที่เห็นว่าภาพยนตร์ไม่ใช่เป็นเพียงสินค้า หากแต่เป็นสิ่งที่แสดงออกถึงภาษาและวัฒนธรรมที่สามารถสื่อข้ามพรมแดนกันได้ ดังนั้น กลุ่มสหภาพแรงงานผู้ผลิตที่ประกอบไปด้วย ผู้กำกับ นักแสดง คนเขียนบท คนในฝ่ายผลิต ฯลฯ จึงเห็นว่าควรจะพิจารณาเรื่องนี้ในด้านของนโยบายด้านสื่อสารวัฒนธรรมด้วย



มากกว่าที่จะมองว่าอุตสาหกรรมภาพยนตร์ควรส่งเสริมให้มีการลงทุนเสรีและปกป้องวัฒนธรรมชาติ แม้ว่าข้อเสนอจะไม่มีผลต่อการประชุมเรื่องนี้มากนัก แต่ก็ถือได้ว่านี่คือการผูกประเด็นที่ขัดแย้งกันอยู่ของสินค้าวัฒนธรรม การค้าเสรีและวิถีชีวิตเข้าด้วยกันเป็นครั้งแรกในเวทีการค้าในรอบของการประชุมแกตต์



ทั้งยังแสดงให้เห็นถึงกลุ่มเคลื่อนไหวใหม่สุดของการขบวนการเคลื่อนทางสังคมรูปแบบใหม่ (the newest of new social movement) ที่ผู้เคลื่อนไหวเป็นกลุ่มที่ประสานไปด้วยคนที่ทำงานอันเกี่ยวเนื่องกับศิลปะ ความคิดสร้างสรรค์และงานอื่นที่เกี่ยวข้องในหลายๆ ส่วน



ที่ผ่านมาในแง่งานวิชาการด้านสังคมศาสตร์ เราจะเห็นว่าในโลกของประเทศอุตสาหกรรมตะวันตกที่มีประสบการณ์ในแนวคิดและ/หรือมีการใช้นโยบายอุตสาหกรรมสร้างสรรค์จากการส่งเสริมของรัฐมากว่าทศวรรษ ได้เกิดการถกเถียงถึงความแตกต่างในเรื่องของ “มูลค่า” ทางเศรษฐกิจและ “คุณค่า” ทางสังคมของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่ไม่ใช่แค่เน้นในเรื่องของมูลค่าเศรษฐกิจและอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจเท่านั้น



หากต้องมองและเข้าใจเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในฐานะที่เป็นส่วนขับเคลื่อนในมิติสังคม-วัฒนธรรมและการเมืองด้วย หรือกล่าวในอีกแง่หนึ่งคือการให้ความสำคัญกับ “คุณค่า” ทางด้านจริยธรรมและคุณธรรม เชื่อมโยงทั้ง “มูลค่า” ทางเศรษฐกิจและ “คุณค่า” ทางสังคมเข้าไว้ด้วยกัน หรือที่ อดัม อาร์วิดสัน (Adam Arvidsson) นักสังคมวิทยาชาวสวีเดนผู้ศึกษาเรื่องอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในยุโรปใช้คำว่าระบบเศรษฐกิจนี้ว่า “เศรษฐกิจจริยธรรม” (Ethical Economy)



ดังนั้น สิ่งสำคัญของความยั่งยืนในการผลิตและการบริโภคของเศรษฐกิจสร้างสรรค์นั้นต้องเกิดจากสิ่งสร้างสรรค์ที่เปลี่ยนแปลงจากฐานราก เกิดจากกลุ่มคนทำงานที่เป็น “immaterial labour” ในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (หรือกระบวนการแรงงานภายใต้ความสัมพันธ์/กดทับของทุนและการผลิตความรู้ที่ คาร์ล มาร์กซ์เรียกว่า General Intellect) เข้ามีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ฐานรากสังคมร่วมกัน



การให้โอกาส ความใจกว้าง การยอมรับและการส่งเสริมกันและกัน ฯ ลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ที่เปรียบเสมือนกับ “ห่วงโซ่” ที่ช่วยปูทางไปสู่การผนึกกำลังของแรงงาน (สมอง) ที่จะเปลี่ยนแปลงโลก นี่คือข้อคิดในมิติที่เปรียบเสมือนแรงโต้ตอบอย่างสร้างสรรค์ที่มีต่อระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์แบบเสรีนิยมใหม่


สำหรับประเทศไทยนั้น เราจะพบว่าปัจจุบันทั้งภาครัฐบาลและเอกชนได้ให้ความสนใจในเรื่องที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์หรืออุตสาหกรรมสร้างสรรค์เป็นอย่างมาก



แม้ไม่มีนโยบายด้านอุตสาหกรรมทางวัฒนธรรมหรืออุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่ชัดเจน แต่ก็เป็นที่น่าสังเกตว่าการใช้นโยบายดังกล่าวเริ่มคล้ายๆ กับยุคของการพัฒนาไปสู่กระบวนการทันสมัย (Modernization) ที่เริ่มในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1



แม้จะยังไม่มีนโยบายของรัฐที่ชัดเจน เช่นจีน เกาหลีและสิงคโปร์ แต่รัฐบาลไทยก็ได้เริ่มดำเนินการสนับสนุนมาได้ระยะหนึ่ง หากนับตั้งแต่ยุคของรัฐบาลทักษิณ 1 ช่วง 8 ปีที่ผ่านมา ได้เกิดแผนงานต่างๆ ที่กระจายอยู่ตามกระทรวงหรือหน่วยงานจัดตั้งใหม่ เช่น กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, กรมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ



รวมทั้ง สำนักงานศิลปะร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งได้แสดงให้เห็นถึงความสนใจต่อการส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในไทย ในขณะที่ในภาคเอกชนโดยเฉพาะด้านการศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนไม่ว่ามหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยศรีปทุม มหาวิทยาลัยรังสิต รวมทั้งมหาวิทยาลัยของรัฐอย่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบังฯ เริ่มปรับหลักสูตรระดับปริญญาตรีทั้งด้านวิทยาศาสตร์ ศิลปศาสตร์ นิเทศศาสตร์ให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์
เราอาจไม่จำเป็นต้องเริ่มต่อต้านเรื่องนี้



แต่สิ่งที่เราต้องทำคือ การศึกษาอย่างลึกซึ้งและรอบด้านอีกมากของแนวทางอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ไทยภายใต้บริบทโลก รวมถึงแนวทางการส่งเสริมการปฏิบัติการอย่างมีรูปธรรมที่ชัดเจนในแนวทางการเปลี่ยนแปลงสังคมยุคหลังพัฒนาการนิยม (post-developmentalism context) แม้ว่าเราจะมีการประชุม เสวนา สัมมนา เรื่องนี้อยู่บ่อยๆ



ปัจจุบันงานวิชาการทั้งในสายของบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ ยังให้ความสนใจเรื่องนี้น้อย



ดังนั้น ความเข้าใจในเรื่องของเศรษฐกิจสร้างสรรค์จึงควรเป็นการมองในแง่ของกระบวนการ (สร้างสรรค์) สังคมในมิติต่างๆ และสิ่งสำคัญนโยบายของมันต้องเปิดให้มีการสนับสนุนและส่งเสริมให้มี “พื้นที่” ของ “การมีส่วนร่วม” ที่มากขึ้นจากทั้งรัฐ เอกชน และชุมชน



ไม่ใช่เป็นนโยบายแบบเดิมๆ ที่เป็นแบบจากบนลงล่าง แบบที่กำลังเป็นอยู่ และกำลังจะเป็นไปในอนาคต (ตามที่รัฐบาลปัจจุบันได้ว่าไว้)


*หมายเหตุ: บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเรื่อง “เศรษฐกิจจริยธรรมยุคหลังพัฒนาการนิยม” จากงานสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2552 จัดโดยสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม

วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2552

"คนโง่ คนฉลาด คนเจ้าปัญญา"

By danai

ชื่อบทความข้างต้นเป็นชื่อเดียวกับหนังสืออีกเล่มที่ผมชื่นชอบและมักหยิบมาอ่านเตือนสติอยู่บ่อยๆ เขียนโดย อาจารย์ ไชย ณ พล ผู้ที่ผมไม่เคยได้พบเป็นการส่วนตัว แต่ทันทีที่ได้อ่านเล่มนี้ ก็น้อมคารวะขอสมัครเป็นลูกศิษย์ ด้วยความลุ่มลึกในแก่นธรรม ในการถ่ายทอดผ่านตัวอักษร จึงขอนำบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับคอลัมน์ CEO Challenge มาฝากกัน
ระบบธุรกิจ



คนโง่ เรียกร้องการผูกขาด เพื่อเอาเปรียบผู้อื่น สร้างความดักดานด้อยพัฒนา และพากันตกยุค



คนฉลาด เรียกร้องเสรี เพื่อแข่งขันกันอย่างเต็มที่ และกอดคอกันสู่หายนะ
คนเจ้าปัญญา เรียกร้องดุลยภาพ ที่ทุกระบบสัมพันธ์กันอย่างสมดุล และรุ่งเรืองอย่างพอดี



การบริหารธุรกิจ
คนโง่ ทำธุรกิจด้วยความอยากได้ ผู้คนจึงหวาดระแวงและถอยหนี



คนฉลาด ทำธุรกิจด้วยความอยากแลกเปลี่ยน ผู้คนจึงพิจารณาและคบหาตราบที่ต่างยังได้ประโยชน์



คนเจ้าปัญญา ทำธุรกิจด้วยความอยากให้ ผู้คนจึงต้อนรับด้วยความยินดี แม้จะต้องให้อะไรตอบบ้างก็ตาม



การดำเนินชีวิต
คนโง่ มักโกงเขากิน กรรมจึงกระหน่ำให้เสียทรัพย์ กลับจนอยู่ร่ำไป ซ้ำมีศัตรูคอยกัดกร่อนตลอดเวลา



คนฉลาด แข่งขันแย่งกันกินอย่างถูกกฎหมาย จึงยุ่งยาก และพลาดไม่ได้ จะโดนแย่ง เพราะมีคู่แข่งพร้อมเหยียบย่ำเสมอ



คนเจ้าปัญญา แบ่งปันกันกินตามความพอดีในระบบสมดุล จึงมีคนช่วยสร้าง ช่วยรักษา และช่วยเสพ และมีมิตรร่วมรับผิดชอบ ร่วมทุกข์ ร่วมสุขโดยมาก



ความมั่งคั่งร่ำรวย
คนโง่ ชอบรวยทางลัด จึงจนอย่างรวบรัดเช่นกัน



คนฉลาด ชอบรวยเชิงระบบ ต้องอิงอาศัยระบบจึงจะรวย เมื่อระบบล่มก็ต้องล้มไปด้วย



คนเจ้าปัญญา ชอบรวยด้วยความยินดี จึงรวยในทุกระดับที่มี ได้ดูดซับคุณค่าของสิ่งที่มีอย่างเต็มที่ จึงรวยและเป็นสุขเสมอทุกขณะ



คุณค่าแห่งธุรกิจ
คนโง่ เอาธุรกิจเป็นสรณะ เมื่อธุรกิจรุ่งก็รุ่งเรืองกับธุรกิจ เมื่อธุรกิจร่วงก็ร่วงหล่นกับธุรกิจ



คนฉลาด เอาธุรกิจเป็นพาหนะ เมื่อธุรกิจดีก็ขึ้นขี่ขับไป เมื่อธุรกิจเสียหายก็ซ่อมแซม เมื่อธุรกิจพังทลายก็เปลี่ยนธุรกิจใหม่ จึงเปลี่ยนแปลงเรื่อยไป
คนเจ้าปัญญา เอาธุรกิจเป็นสาธารณะ จัดระบบเกื้อกูลมหาชน เมื่อเกื้อกูลแล้วก็เก็บเกี่ยวเพื่อการพัฒนาที่ยิ่งใหญ่



ผมคงไม่ลำเอียงเข้าข้างตัวเองว่า หลักการของคนโง่ คนฉลาด คนเจ้าปัญญาที่ยกมาเพียงบางส่วนข้างต้นนั้น ตรงกันกับหลักการน่านน้ำสีขาว White Ocean Strategy อย่างยิ่ง และกำลังเป็นน่านน้ำสีขาวที่แผ่ไพศาลออกไปเรื่อยๆ อย่างไม่หยุดยั้ง หากท่านต้องการติดตามสาระข้อมูลดีๆ เชิญมา follow กันได้ที่ จะรอทวีตครับ!

วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2552

National divide mystifies an old friend of Thailand

The Nation Opinion
Published on September 9, 2009


In an exclusive interview with Nation editor-in-chief Suthichai Yoon, Professor Stephen Young - credited among those who discovered the bronze-age site of Ban Chiang in northeastern Thailand in 1966 (now a Unesco world-heritage site) - deplores the "ridiculous" national division he insists has resulted from Thaksin Shinawatra's "imperial" ambition.

This is the first of a two-part series. See the full version of the interview on the Nation Channel at 2pm this Friday.

Suthichai Yoon: Professor Young, you've been watching Thai politics closely, the red shirts, the yellow shirts, and of course you are part of Thailand as well. You grew up here, you went to the international school here. Looking from afar now, what do you think of Thailand; does it still have a future?

Professor Young: Well, I think that's the right question to ask. If you look at Thailand from afar, most foreigners don't know much about what's going on. The Western idea, the Western press coverage is very superficial.

SY: Even the New York Times?

PY: Yes, the New York Times especially. The Washington Post. The Economist. Foreigners don't know the way the Thais think. I'm more worried now about Thailand than ever before. When I first came here in 1961, that was 48 years ago, and my father was the American ambassador, we had a wonderful family relationship with Thailand. Maybe different from many foreigners. I don't speak Thai so well anymore, but I have a feeling that there's something special to us, to our family, my father, my mother, or myself, my brother, my sister about Thailand. We care about Thailand. My dad was close to His Majesty, close to [ex-PM Field Marshal] Sarit [Thanarat], and in 1961 there was this [big] gap between the Bangkok elite and the rural poor, a real gap. So, today, 2009, when I hear the red shirts say there's a gap between Bangkok and ban nok [upcountry], I think it's ridiculous. Today, there's a gap, but in 1961 it was much bigger.


I just went back to Ban Chiang. When I went there 43 years ago, there was no electricity, no flush toilet, and if you needed hot water, you had to boil it. Chicken was too expensive. You had to eat little fish from the pond. Today there's electricity, flush toilets, hot water and ATM machines. Most of the houses have Internet.

SY: At that time, there wasn't even a telephone.

PY: No telephone. Radios. I remember we had radios with batteries. The strongest station was communist Chinese, broadcasting Chinese propaganda, so I remembered sitting in Ban Chiang listening to Chinese communist propaganda, and in Thai.

SY: From Beijing?

PY: From Beijing. Radio Beijing. Today it's television, international television. The people are watching soccer games in Europe. The people have cell phones. A lady who was with me was calling another lady to tell the car to pick me up at the airport. This is modern Thailand. So many changes. In 1961 it was my dad, with the passion of His Majesty and Field Marshal Sarit. He was a dictator, a military dictator, he was a tough guy, but he cared about the people, especially Isaan [the Northeast], and His Majesty also cared about Isaan. So the government began all these programmes. The roads in Ban Chiang are all cement. Before, it was dirt road. Thailand has done so much and I think in particular, the people in Bangkok, the Bangkok elite. In particular His Majesty deserves appreciation for what he's done for Thailand. So when I hear all these strange things about Thailand not having this and that, the need to change, some intellectuals want to run a revolution or something, I think this is crazy. It makes no sense to me.

SY: Why do you think they have this rumbling about change?

PY: My feeling, quite frankly, is that this goes back to the ambition of one man.

SY: Thaksin?

PY: Thaksin. And I ask myself why is he such a threat to Thailand?

SY: You knew him before?

PY: No. Only by reputation. When I first heard of him, when he started the Shin Corporation, what I heard was: he's a police major who got a contract from the government for telephones after one of the coups. Now I ask myself, back then, 1993, something like that, how do you get a contract from the government? What do you have to do to get a contract? And I noticed Khun Thaksin made more money, became more wealthy, all because he has a government licence.

SY: A monopoly.

PY: A monopoly, not because he was out there working like other people. He had a monopoly that the government gave him. The Thai people represented by the government gave him an exclusive, elitist, monopolistic special privilege. This is aristocracy. This is elitism. This is not a man who started poor in a village and worked his way up. He has special connections and I've seen him use many special connections. But I've never seen Thai society so divided. Even the divisions over the West during the time of King Rama 4 and 5 were not this serious, neither was the division over the communists. The communists failed in Thailand. They could not divide the Thai people.


Thaksin has divided the Thai people and this is sad. The Thai people should not be so divided and angry. Even my family friends, the family is divided. Some of the brothers and sisters are yellow, and some are red. And around the dinner table, they argue and get angry. So I think ... sabai ... where did it go?

SY: But Thaksin claimed that he changed the face of Thai politics. He made the masses, the rural people, speak up for the first time. It's the first time they benefited from politics. They can touch, consume and eat politics.

PY: I think that's ridiculous. Rural people in their communities have always had their patrons. They can always have some influence in this group and that group. I have my view, my patron. I look up to you, you take care of me. You are at the provincial level and you reach the Bangkok level, so I can get it to the Bangkok level only through you. This has been true for a long time.


Thaksin is in exile. He wants a pardon, he wants his money back, he doesn't want the conviction. Other Thai political leaders have not acted like that, if you look back.

SY: All the way back to Pridi Panomyong?

PY: Before that. We had the coup of 1932 and Prince Nakornsawan, the powerful Chakri prince, was asked to leave. He did, and he died in exile and never came back. His Majesty King Prachatipok felt there was a new situation and he abdicated. He went to England. He died in England. At his cremation, in 1941 I think, there were his queen and several relatives. No complaints. Pridi: He felt the situation changed. He left. General Pao, the powerful police general, left when Sarit took over and did not come back. Sarit, after he died, there was an argument how much money he made and the government took the money back. The family did not argue. Khun Thanom lost his money and went into exile. So I ask myself why is Thaksin different? Why doesn't he think like a Thai?

SY: Why?

PY: I think it's because he's not really a Thai Thai. He has other ideas in his head. He does not say kreng jai. He does not think about merit and sin. He thinks about how he can be a powerful man. He wants to be the leader of everybody, the big boss of everybody. This kind of thinking to me reflects not Thai Buddhism, but Chinese imperial thinking. The imperial thinking of the Chinese emperor. The Chinese theory. If you read about this, and I've studied a lot about it, we see this thinking.


So everything that Thaksin does, how he ran his government, how he put his money here and there, it's just like 2,000 years ago. Same thinking. This idea was that, above the earth is heaven, or tian, and there's one man- and underneath is everybody else. And when Thaksin wants to control the government, police, army, judges, businesses, TV, newspapers - that's bringing everything under him. No Thai leader in history has ever tried to do this. King Naresuen never tried to do this. King Rama I didn't try to do this. This is something new and different. Therefore, the Thai people are divided over this. Something new was added by Thaksin.

Professor Stephen B Young is the global executive director of the Caux Round Table and an editorial commentator for Twin Cities Daily Planet newswire. He was educated at the International School Bangkok, Harvard College (graduating Magna Cum Laude) and Harvard Law School (graduating Cum Laude). He was a former assistant dean at Harvard Law School and former dean of Hamline University School of Law. He is widely recognised for his knowledge of Asian history and politics, and has taught at various prestigious institutes. His articles have been published in well-known newspapers including the New York Times.




ชีพจรโลก




เทศมองไทยไปกับ"สตีเฟน ยัง"มอง"ทักษิณ"

คมชัดลึก :ถ้าเราคนไทยให้ความสำคัญกับสื่อตะวันตก ไฉนไม่รับฟังทัศนะของ "สตีเฟน ยัง" ฝรั่งลูกทูตอเมริกัน ที่เติบโตและเคยศึกษาอยู่บนแผ่นดินทอง ยิ่งเขาคนนี้เป็นคนค้นพบอารยธรรมบ้านเชียงแล้ว ไยเรื่องการบ้านการเมืองไทยในมุมมองของเขาจึงไม่น่าสนใจเล่า !?!


ในฐานะนักศึกษาฮาร์วาร์ดที่ค้นพบบ้านเชียง แหล่งโบราณคดีแห่งที่ราบสูง อ.หนองหาน จ.อุดรธานี และในฐานะลูกชายทูตสหรัฐประจำประเทศไทย เติบโตและศึกษาเล่าเรียนอยู่ในเมืองไทย เฝ้ามองดูความเปลี่ยนแปลงทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และการปกครอง ตั้งแต่ยุคล่าอาณานิคมมาจนถึงการคืบคลานเข้ามาของระบอบคอมมิวนิสต์ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ "สตีเฟน ยัง" ยังเป็นอะไรต่อมิอะไรอีกมากมาย มุมมองของเขาต่อประเทศไทยที่รักและห่วงใย จึงเป็นสิ่งที่จะมองข้ามไปไม่ได้ รายการชีพจรโลกกับ สุทธิชัย หยุ่น ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 อสมท จึงเชิญมาแสดงทัศนะเกี่ยวกับการเมืองและการปกครองของไทยที่กำลังเข้าสู่ยุคแตกขั้ว

"พ่อผมใกล้ชิดกับในหลวง ใกล้ชิดกับจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในปี 2504 มีช่องว่างระหว่างคนชนชั้นสูงกับคนจนในชนบท ซึ่งเป็นช่องว่างจริงๆ ในวันนี้ปี 2552 เมื่อผมได้ยินกลุ่มเสื้อแดงพูดว่า ไทยมีช่องว่างระหว่างคนรวยในกรุงเทพฯ กับคนจนในชนบท ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องไร้สาระ ทุกวันนี้ช่องว่างมีเพียงแค่นี้ ที่อเมริกาก็มีช่องว่าง แต่ในปี 2504 ช่องว่างมันขนาดนี้" สตีเฟนทำมือประกอบให้เห็นถึงขนาดของช่องว่างที่แตกต่างกันมาก

สตีเฟนเข้ามาอยู่ในประเทศไทยเมื่อปี 2504 หรือเมื่อ 48 ปีก่อน สมัยนั้นยังไม่มีไฟฟ้า น้ำประปาใช้ ถนนเป็นดินลูกรัง แต่นับวันที่ล่วงผ่านไปมีอะไรใหม่ๆ เกิดขึ้นในเมืองไทยตลอดเวลา เมื่อได้ยินเรื่องแปลกๆ ทำนองว่าประเทศไทยยังไม่มีนั่นไม่มีนี่ ต้องเปลี่ยนแปลง ปัญญาชนบางคนต้องการการปฏิวัติ เขาจึงมองว่าเป็นเรื่องไร้สาระ และทำให้มองไปถึงความทะเยอทะยานของผู้ชายคนที่ชื่อ "พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร" ตั้งแต่เริ่มทำชิน คอร์เปอเรชั่นฯ กับการได้มาซึ่งสัมปทานโทรศัพท์จากรัฐบาลโดยระบบ "ผูกขาด"

สตีเฟนย้ำว่า สาเหตุที่ทักษิณทำเงินได้เยอะและกลายเป็นคนร่ำรวย เพราะรัฐบาลได้มอบความเป็นบุคคลอภิสิทธิ์ให้เขา ให้สิทธิพิเศษในการผูกขาด เป็นการปกครองโดยคนชั้นสูง กลุ่มคนร่ำรวยและมีอภิสิทธิ์เหนือคนอื่น

"นี่ไม่ใช่เรื่องของผู้ชายคนหนึ่งที่เริ่มจากความยากจนแล้วไต่เต้าขึ้นมา เขามีสายสัมพันธ์พิเศษ และผมเห็นเขาใช้สายสัมพันธ์พิเศษเหล่านั้น"

พร้อมกันนี้ สตีเฟนยังเสนอมุมมองเกี่ยวกับความคิดของอดีตนายกฯ ทักษิณ ที่เป็นแบบจักรพรรดิของจีน ซึ่งถูกนำมาใช้ครั้งแรกโดย "ฉิน จื่อ หวาง" แบ่งเป็น เบื้องบนคือสวรรค์ ถัดลงมาเป็นคนคนหนึ่ง ส่วนเบื้องล่างคือคนที่เหลือ แล้วเข้าควบคุมรัฐบาล ตำรวจ ผู้พิพากษา นักธุรกิจ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ฯลฯ ทำให้ทุกสิ่งอยู่ใต้เขา ซึ่งไม่เคยมีผู้นำไทยคนไหนในประวัติศาสตร์ชาติไทยที่พยายามทำเช่นนี้มาก่อนเลย

เขาชี้ว่าในเมืองไทยคนตัวเล็กๆ มักจะแหงนมองคนสำคัญ เพราะพวกเขามีความรู้สึกของระบบอุปถัมภ์อยู่ ทว่าทักษิณเข้าไปตัดลำดับขั้นต่างๆ เพื่อเข้าไปปกครองโดยตรง ทุกคนทำงานภายใต้ตัวผู้นำ ไม่ใช่ความร่วมมือแบบเก่าๆ แต่คนส่วนใหญ่ทำงานให้ทักษิณและเชื่อว่าทักษิณจะใช้เงินดูแลพวกเขา เมื่อถามว่าลักษณะเช่นนี้เป็นประชาธิปไตยหรือไม่ สตีเฟนบอกว่าประชาธิปไตยที่ปราศจากศีลธรรมจะย่ำแย่ แต่ความยุติธรรมต่างหากคือสิ่งจำเป็น

"ย้อนกลับไปที่ อริสโตเติล หากคุณเป็นประชาธิปไตย แต่คุณฉ้อโกง ทำร้ายผู้อื่น เราเรียกว่าทรราช คุณไม่มีศีลธรรม ไม่ยุติธรรม นั่นเป็นระบบที่เลวร้าย อริสโตเติลกล่าวไว้ว่าทุกๆ ระบบ ไม่ว่าจะเป็นระบอบกษัตริย์ ขุนนาง หรือประชาธิปไตย ต้องมีกฎหมาย มีศีลธรรม และเป็นธรรม ที่จะควบคุมอำนาจในทางมิชอบ"

อย่างไรก็ดี สตีเฟนได้ตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นว่าประเทศไทยเดินไปผิดทางคือ การปกครองลักษณะเดียวกับอาร์เจนตินา ภายใต้การนำของ "ฮวน เปรอง" ที่ไปหาคนจนแล้วโทษคนรวย บอกให้คนจนโหวตเขาแล้วเขาจะลงโทษคนรวย เอาเงินจากคนรวยมาให้คนจน เอาคนจนไปต่อสู้กับคนรวย ทั้งที่ปี 1930 ก่อนยุคฮวน เปรอง อาร์เจนตินาได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่ร่ำรวย แต่ผู้นำเผด็จการได้ทำลายเศรษฐกิจและสร้างพรรคเผด็จการ 70 ปีต่อมาอาร์เจนตินาก็เผชิญกับความยากจนและแตกแยก สตีเฟนมองว่าหากไทยยังปล่อยให้เป็นแบบนี้ก็จะประสบชะตากรรมเดียวกัน

สตีเฟนย้ำว่า ระบบที่ดีอยู่ที่ใครจะสร้างความยุติธรรมในสังคมได้ ใครที่ปกครองอย่างมีศีลธรรม สามารถตรวจสอบควบคุมซึ่งกันและกันได้ รัฐธรรมนูญปี 2540 เป็นรัฐธรรมนูญที่ดี แต่บางคนที่มีเงินเข้ามาแล้วทำตัวเหมือนหนูที่เอาเนยแข็งทั้งก้อนไป คุณความดีของรัฐธรรมนูญสูญหายไป ผู้คนไม่พอใจ ประท้วง ปฏิเสธการประนีประนอม ที่ผ่านมาสตีเฟนได้ยินทักษิณพูดว่า รัฐประหาร 19 กันยายน 49 ล้มล้างเขา ตั้งแต่นั้นเขาถูกข่มเหงมาโดยตลอด ทั้งที่ก่อนหน้าทักษิณได้ฝ่าฝืนเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญและทำลายกฎหมาย สร้างความชอบธรรมและอะลุ้มอล่วยทางกฎหมาย คือ เขาได้เริ่มกระบวนการล่มสลายเอง และรัฐประหารก็เป็นส่วนหนึ่งของการล่มสลาย

"ตอนนั้นผมรู้สึกเศร้าใจ อะไรคือทางออกของไทย ถ้าเดินหน้าต่อกับทักษิณก็จะจบลงด้วยเผด็จการแบบจีน ซึ่งไม่ดีกับประเทศไทย แต่ถ้าเลือกรัฐประหารมันก็ขัดรัฐธรรมนูญ ประเทศไทยไม่ควรอยู่ในจุดนั้น ไม่ใช่เพราะกองทัพ ไม่ใช่คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่ใช่ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ แต่เป็นเพราะคนคนหนึ่งกับทีมของเขาเอง"

เมื่อถามย้ำว่าทักษิณโทษป๋าเปรมว่าเป็นต้นเหตุของความเดือดร้อนทั้งหมด สตีเฟนตอบว่าทักษิณเป็นคนฉลาดพูด เขารู้จักหัวใจของคนไทยดี รู้ว่าควรจะพูดอะไรให้คนไทยคิดเหมือนเขา ในตะวันตกเรียกว่า "ผู้ปลุกปั่น" เขาจะศึกษาตัวคนฟังและอารมณ์ แล้วพูดในสิ่งที่คนอยากได้ยิน ไม่ใช่ชอบหรือห่วงใย แต่เพราะต้องการบางอย่างคือ เสียงโหวตและความภักดี

ท้ายที่สุดแล้วสตีเฟนยังมีความหวังว่า ความแตกแยกทางการเมืองในไทยแก้ไขได้ ถ้าทุกฝ่ายนั่งลงแล้วคุยกันถึงวิธีแก้ปัญหาแบบไทยๆ แล้วทำงานร่วมกัน เช่น โครงการพัฒนาเศรษฐกิจและพัฒนาการศึกษา ฯลฯ ทุกคนควรมีจิตสำนึกของสิ่งถูกต้องตามทำนองคลองธรรม จริยธรรม และความภาคภูมิใจที่เป็นคนไทย ที่ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนหรือต้องฟังใคร ที่สำคัญหากความทะเยอทะยานของทักษิณถูกนำออกไปจากบริบทปัญหานี้ก็น่าจะมีทางออกสักทาง

"ยารสหวานๆ แบบฉบับไทยๆ กินทุกๆ วันเป็นเดือนหรือ 3 เดือนแล้วคุณจะดีขึ้นเอง ดีกว่ายาที่กินวันเดียว แต่คนอาจไม่ชอบ ยานี้คืออะไร ผมว่ามันต้องมาจากผู้นำรัฐบาล ผู้นำพรรคการเมือง พวกเขาอาจต้องกลืนยาขม จะต้องไม่มีใครรับสินบน ใช้เวลา 3 ปี ตำรวจและทุกๆ คนต้องทำหน้าที่ของตัวเอง นี่คือยาขมทำให้คนไทยได้เห็นว่านี่คือกฎเกณฑ์ใหม่"

นี่คือมุมมองบางส่วนของ สตีเฟน ยัง ผู้ที่ชาวอีสานมองว่าเขามีเทวดาอยู่บนไหล่ซ้าย ถึงได้ล้มลงตรงจุดที่ค้นพบโบราณวัตถุแห่งบ้านเชียงพอดิบพอดี !?!

ชายผู้มี 'เทวดา' ประจำตัว

เมื่อครั้งเป็นนักศึกษาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สตีเฟน ยัง มาทำวิจัยที่เมืองไทย เพราะเคยอยู่ในเมืองไทยและพูดไทยได้ โดยตั้งเป้าจะทำเรื่องอัตลักษณ์คนอีสาน กะว่ากางแผนที่หลับตาจิ้มแล้วก็ไปที่หมู่บ้านนั้นทันที บังเอิญเจ้าหน้าที่องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐ ซึ่งทำงานอยู่ในพื้นที่แนะนำให้ไปพบศาสตราจารย์จากฝรั่งเศสที่จุฬาฯ ท่านแนะนำให้ไปที่บ้านเชียง ต.บ้านเชียง อ.หนองหาน จ.อุดรธานี เนื่องจากลูกสาวครูใหญ่เพิ่งแต่งงานใหม่ ปลูกบ้านใหม่และห้องน้ำดี
วันหนึ่งขณะเดินไปตามถนนกับชาวบ้านคนหนึ่ง เขาเกิดสะดุดต้นไม้หน้าคะมำพื้นพบกับชิ้นส่วนรูปร่างกลมนับสิบจุด เมื่อหักออกมาจึงเห็นว่าเป็นส่วนหนึ่งของภาชนะ ถามใครก็ไม่รู้ว่าเก่าขนาดไหน เลยนำไปให้แม่ แม่ก็พาไปหาศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี และหม่อมพันธุ์ทิพย์ บริพัตร (ถูกป่าวตรวจสอบก่อน) ตรวจดูถึงได้รู้ว่าเป็นภาชนะเก่าแก่ไม่เคลือบแห่งบ้านเชียง กลายเป็นที่มาของการขุดค้นหาแหล่งประวัติศาสตร์บ้านเชียง และชาวบ้านเรียกขานสตีเฟนว่ามีเทวดาประจำตัว คือ ผลักให้ล้มลงไปตรงจุดที่พบโบราณวัตถุพอดิบพอดีไม่มีขาดไม่มีเกิน


HipTv
ชีพจรโลก วิเคราะห์อนาคตการเมืองไทย กับ สตีเฟ่น ยัง นักวิชาการและผู้ค้นพบอารยธรรมบ้านเชียง
ออกอากาศเมื่อ : 2009-09-08

วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2552

แดงคอมมิวนิสต์-แดงคอมมิชชั่น-แดงคอรัปชั่น สู่ปรากฏการณ์ "แดงพอลลูชั่น" (pollution red)

โดย สารส้ม





ประเทศไทยเวลานี้ กำลังมีมลภาวะทางการเมือง (pollution) !

เป็นการเมืองมลพิษ มีพอลลูชั่นสีแดงฉาน เป็นตัวบ่อนทำลายสุขภาวะของประเทศชาติอย่างยิ่ง

ในบรรดาเครือข่ายแกนนำเสื้อแดงที่ทำการเคลื่อนไหวกันอยู่ และกำลังลากไส้เน่าๆ กันอยู่นั้น วิเคราะห์กันว่า มีแดงหลายจำพวก

1) พวกหนึ่ง คือ แดงคอมมิวนิสต์

ได้แก่ พวกที่มีแนวคิดต้องการจะล้มล้างเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของประเทศจริงๆ

พวกนี้ บางคน ก็หนีไปซุกหัวอยู่เมืองนอก อาศัยแกว่งปาก ส่งเสียงเข้ามาก่อมลภาวะทางความคิดในประเทศบ้างเป็นบางเวลา

ประหนึ่งว่า เป็นการบำบัดความใคร่ทางอุดมการณ์ !

2) แดงอีกพวก กำลังเป็นข่าวฉาว คือ แดงคอมมิชชั่น

ได้แก่ แกนนำเสื้อแดงพวกที่กะเฬวกะราด ไร้ราคา หมดหนทางทำมาหากินอย่างสุจริตและมีคุณค่า อาศัยเพียงรับจ้างปลุกม็อบ กินค่าคอมมิชชั่นจากน้ำเลี้ยงของคนหนีคุก จัดกิจกรรมเคลื่อนไหวทางการเมืองตอบสนองตัณหาของแดงตัวพ่อไปเรื่อยๆ

หลอกรับประทานแดงตัวพ่อบ้าง หลอกรับประทานชาวบ้านที่เป็นแดงรากหญ้าบ้าง

เรียกว่า หากินกับการหลอกแหลก !

3) แดงอีกพวกหนึ่ง ที่จะลืมไปไม่ได้ คือ แดงคอรัปชั่น

ได้แก่ แกนนำเสื้อแดงที่เป็นพวกติดบ่วงคดีทุจริตคอรัปชั่น โกงบ้านโกงเมือง แดงคอรัปชั่นพวกนี้ก็เข้ามาร่วมป่วนบ้านป่วนเมืองเพื่อหวังล้มกระดาน หรือล้มล้างคดีความผิดของตัวเอง

ไล่ตั้งแต่ตัวเล็กตัวน้อย-ตัวกลาง อย่างตัวที่ไปล้มการประชุมอาเซียน แดงใจด้านเกินพอ นั่นก็มีคดีทุจริตเรียกรับสินบนบ้านเอื้ออาทรติดตัวอยู่ !

สำรวจเรื่อยไปจนถึงตัวใหญ่ แดงตัวพ่อนั่นก็เข้าข่าย "แดงคอรัปชั่นตัวเอ้" เพราะมีคดีทุจริตโกงบ้านโกงเมืองยาวเป็นหางว่าว กอบโกยเงินแผ่นดิน ผ่องถ่ายออกไปเสวยสุข เอาตัวรอดอยู่นอกประเทศเวลานี้

แดงคอรัปชั่น พวกนี้ไม่มีอุดมการณ์อะไร ขอแค่ล้มคดีโกงบ้านโกงเมืองของตนเองก็พอ

4) ขบวนการของเสื้อแดงหลายจำพวก ที่กระทำการของตัว โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อประเทศชาติส่วนรวมอยู่ในเวลานี้ ได้สอดประสาน กลายเป็นปรากฏการณ์ "มลภาวะทางการเมือง" อย่างเต็มรูปแบบ

กลายเป็น "แดงพอลลูชั่น" หรือ "มลภาวะแดง" (pollution red)

ก่อกวน สร้างความปั่นป่วนในบ้านเมืองไม่รู้จบ

คนพวกนี้ ทำเหมือนประเทศชาติเป็นของเล่น

เคลื่อนไหวการเมืองเหมือนเป็นเครื่องตอบสนองตัณหาส่วนตัว

ตอดนิด ตอดหน่อย เช่น ปล่อยเชื้อร้ายออกมาป่วนล่วงหน้า ในรูปของคลิปเสียงลวงโลก หวังผลทำลายภูมิต้านทานทางการเมืองของสังคมไทย เพื่อจะฉวยโอกาสปลุกระดมเคลื่อนไหวรุนแรง

เจ้าหน้าที่ต้องคอยตามล้างตามเช็ดมลภาวะอันเลวร้าย ที่คนพวกนี้ปล่อยออกมาสู่สังคมไปเรื่อยๆ เสียเวลา เสียโอกาส ที่จะไปทำงานอย่างอื่นที่เป็นประโยชน์ในเชิงการพัฒนาประเทศระยะยาว

ครั้นเห็นเจ้าหน้าที่ตั้งรับรัดกุม ป้องกันมิให้เกิดการเผาบ้านเผาเมืองเด็ดขาด ประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ เตรียมพร้อม คนพวกนี้ก็ยังจะเล่นไม่เลิก จงใจจะแกล้งนัดชุมนุม ป่วนไปเรื่อยๆ

แสดงเจตนาที่จะเล่นเอาล่อเอาเถิดกับความสงบสุขของคนในบ้านเมือง

คนพวกนี้ จิตใจทำด้วยอะไร?

จะรักทักษิณ ก็แล้วทำไมต้องทำร้ายประเทศไทย ?

เราจะปล่อยให้มลภาวะแดง ฟูฟ่อง ล่องลอย บ่อนทำลายสุขภาวะของประเทศชาติ อย่างนี้ต่อไปเรื่อยๆ อย่างนั้นหรือ?


วันที่ 2/9/2009