
โดย จุฑารัตน์ ทิพย์นำภา
อยากเรียนเก่งต้องหัดเขียนมายแมพ
เครื่องมือไม่มีอะไรมาก แค่กระดาษเปล่าหนึ่งแผ่น ดินสอหนึ่งแท่ง เผื่อยางลบไว้ด้วยก็ดี ถ้าพร้อมแล้วมาเริ่มวาดแผนที่ความคิดกันเลย!
ใครๆ ก็อยากเรียนเก่งเป็นแชมป์เหรียญทองโอลิมปิกวิชาการ อยากฉลาดเหมือนนักวิทยาศาสตร์ชื่อก้องโลก อยากพูดโน้มน้าวใจคนเก่งอย่างนักขายมืออาชีพ อยากเป็นพิธีกรที่พูดได้คล่องแคล่ว ไม่ติดขัด แถมยังโชว์มุกขำเรียกเสียงฮา ทุกคนฝึกฝนได้และทำได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีไอคิว 180 หรือมีมันสมองระดับอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
ขอแค่จัดระเบียบความคิดให้เป็นระบบก็พอ พูดง่าย แต่ทำให้ได้ต้องฝึกฝน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ไม่เคยฝึกจัดลำดับการทำงาน หรือพวกที่คิดฟุ้งซ่าน นึกจะทำก็ทำ นึกจะเลิกทำก็เลิก
ดำเกิง ไรวา วิทยากรจากบริษัท บูซาน ประเทศไทย จำกัด แนะเทคนิคเริ่มต้นฝึกฝนกระบวนการ "สร้างแผนที่ความคิด" ด้วยเกมง่ายๆ สามารถนำไปประยุกต์ใช้เล่นกันในครอบครัว พี่น้องได้ เหมือนกับรายการเกมโชว์ทางทีวี
ลองสมมุติสถานที่เที่ยวขึ้นมาสักแห่งจะเป็นหัวหิน ดอยอินทนนท์ หรือวางแผนกางเต็นท์เขาใหญ่ก็ได้ จากนั้นให้ทุกคนที่ร่วมเล่นเกมช่วยกันคิดว่าควรจะเอาของอะไรติดตัวไปบ้าง ไม่ว่าจะเป็น เต็นท์ เสื้อกันหนาว รองเท้าผ้าใบ ไฟฉาย จนกระทั่งได้สิ่งของทั้งหมดกว่า 30 ชิ้น จดลงบนกระดาษ แล้วคว่ำกระดาษลงบนโต๊ะให้ทายสิ่งของทั้ง 30 ชิ้นตามลำดับ
การฝึกคิดแบบมายด์แม็พให้เริ่มถกกันตั้งแต่สถานที่เที่ยว และของที่จะนำไปเป็นชิ้นแรก เรียงลำดับมาจนถึงชิ้นสุดท้าย และแทนที่จะเขียนชื่อสิ่งของให้วาดเป็นรูปสัญลักษณ์แทนสิ่งของลงบนกระดาษเปล่าไม่มีเส้น
“เด็กไทยส่วนใหญ่ถูกสอนมาตั้งแต่อายุ 6 ขวบ ให้จดบันทึกข้อมูลทั้งหมดเรียงตามลำดับ สิ่งที่ได้คือข้อมูลที่ครบถ้วน แต่จำยาก ยิ่งจดไม่เป็นหมวดหมู่ยิ่งหายาก"
เครื่องมือจัดระเบียบความคิดที่เรียกว่า มายด์แม็พจึงช่วยจำ ช่วยฝึกคิดได้ตลอดเวลา และยังสนุกกับการคิด สนุกกับการจำ ยิ่งสนุกยิ่งอยากจำ อยากคิด
มายด์แม็พเป็นผลงานของนักจิตวิทยาชาวอังกฤษ ชื่อ โทนี บูซาน เขาให้ความหมายของ Mind Map ไว้เมื่อปี 2517 ว่าคือแผนที่เส้นทางอัจฉริยะ เปรียบเสมือนลายแทงที่นำไปสู่การจดจำและการเรียบเรียง จัดระเบียบข้อมูลตามธรรมชาติการทำงานของสมองตั้งแต่ต้น หากสร้างแผนที่ความคิดได้การจำและการฟื้นความจำเป็นเรื่องขี้ปะติ๋ว หรือเรียกข้อมูลกลับมาในภายหลังทำได้ง่าย ถูกต้องแม่นยำมากกว่าการใช้เทคนิคการจดบันทึกแบบเดิม หรือท่องเป็นนกแก้วนกขุนทอง
"เคยนึกอะไรออกเวลาอาบน้ำ หรือระหว่างขับรถ คิดว่าจำได้ แต่พอไม่ได้จด มานึกอีกทีก็ลืมคิดไม่ออก แต่พอลองนึกออกมาเป็นภาพ ช่วยให้นึกได้เร็วขึ้น"
ดำเกิงเริ่มทำความรู้จักกับมายด์แม็พจริงจัง ตั้งแต่สมัยเรียนปริญญาโท คณะเศรษฐศาสตร์ โดยคิดหาวิธีทำอย่างไรให้เรียนเก่ง จดจำเนื้อหาในหนังสือได้อย่างแม่นยำ เริ่มต้นจากหนังสือของอาจารย์ธัญญา ผลอนันต์ ผู้ที่นำเทคนิคมายด์แม็พจากประเทศอังกฤษเข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทยเป็นคนแรก จากนั้นก็ใช้มายด์แม็พมาตลอด 8 ปี กระทั่งปัจจุบัน พบว่าตนมีทักษะพูดโน้มน้าวใจคน โดยใช้เวลาไม่กี่นาที สามารถจำคนจำนวนมาก ได้อย่างแม่นยำ อย่างไรก็ตามสิ่งที่เกิดขึ้นล้วนมาจากการฝึกฝน
“คนที่คิดแบบมายด์แม็พจะมีความคิดที่แตกแขนงไปได้มากกว่า จำได้ สื่อสารเรียนรู้ได้เร็วกว่า มายด์แม็พเป็นเครื่องมือช่วยฝึกสมองความจำได้อย่างดี”
แผนที่ความคิดไม่ได้ใช้เพื่อฝึกจดจำตำราได้เท่านั้น แต่ยังนำไปประยุกต์ใช้กับงานได้หลายด้าน การพูด นำเสนองาน หากจัดลำดับความคิดเป็นมายด์แม็พ ช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงาน ทำให้ระบบงานแข็งแรงขึ้น วางแผน เป้าหมาย สื่อสารกันเองในองค์กร นำเสนอได้อย่างมีประสิทธิภาพ เตรียมการพูด เจรจาต่อรองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
“ผมว่าคนหันมาเขียนมายด์แม็พเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในยุคของข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก และเราต้องการจัดการกับข้อมูลเยอะในเวลาที่มีอยู่จำกัด” เขากล่าว และว่า มายด์แม็พช่วยได้จิปาถะไม่ติดขัดอายุอานาม
ดำเกิงบอกว่า มายด์แม็พสามารถประยุกต์ใช้ได้ร้อยแปดพันประการไม่ว่าจะเป็น เทคนิคการจำ ระบบการทำงาน วางแผน ตั้งเป้าหมาย การสื่อสาร การนำเสนอ ระดมสมอง ตัดสินใจ เจรจาต่อรอง การบริหารโครงการ ตลอดแก้ปัญหาความขัดแย้งในองค์กร เป็นต้น
"ผมคิดว่าสิ่งที่จับต้องได้ในชีวิตประจำวันสามารถนำมาเขียนเป็นมายด์แม็พได้หมด” วิทยากรมายด์แม็พกล่าว
ถึงแม้ว่าเทคนิคมายด์แม็พสามารถหาอ่าน และเรียนรู้ได้หลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ แม้แต่คลิปวิดีโอบนยูทูป เพียงพิมพ์คำค้นว่า Mind map ลงไป คลิปตัวอย่างฝึกมายด์แม็พออกมาเป็นพะเรอเกวียน แต่ก็ใช่ว่าดูคลิป หรือเข้าคอร์สแล้วจะทำได้เชี่ยวชาญกันข้ามชั่วโมง การเขียนแผนที่ความคิดเป็นเรื่องที่ต้องฝึกฝนกันอยู่เสมอจนเป็นไปตามธรรมชาติ
สำหรับคนเริ่มต้นอาจใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์มายด์แม็พช่วยเรียนรู้กระบวนการได้ง่าย สะดวก และเป็นระเบียบ ข้อมูลมีหลายมิติ สามารถโยกย้าย แก้ไขข้อผิดพลาด ส่งต่อเป็นไฟล์ผ่านอีเมลได้อย่างรวดเร็ว
เทคนิคสำคัญสำหรับการเขียนมายด์แม็พ ดำเกิงมองว่า ผู้ใช้ต้องฝึกจินตนาการ ฝึกเชื่อมโยงภาพกับข้อมูล การเขียนมายด์แม็พโดยใช้ภาพสื่อสารแทนข้อความ จะช่วยให้การจดจำแม่นยำยิ่งขึ้น
เริ่มต้นจากวางกระดาษในแนวนอนให้กวาดสายตาดูได้อย่างสะดวก วาดโลโก้ของตัวเองไว้ตรงกึ่งกลางของกระดาษ จากนั้นค่อยๆ ลากเส้นเชื่อมโยงความคิดจากตัวเองออกมาเป็นเส้นรัศมี สำหรับคำที่ใช้ ควรเป็นคำที่สั้น ได้ใจความ ไม่เยิ่นเย้อ เพราะพื้นที่บนหน้ากระดาษของมายด์แม็พมีค่ามหาศาล เพราะสามารถย่อยข้อมูลที่มีหลายหน้าให้อยู่ในหน้าเดียว วิธีการอ่านมายด์แม็พให้อ่านจากด้านในไปด้านนอก
“มายด์แม็พเปรียบได้กับ มีดพก Swiss Army ที่มีอุปกรณ์เล็กๆ ซ้อนอยู่ โดยหลายคนใช้มายด์แม็พเป็นเครื่องมือสำคัญระดมสมอง แม้ความคิดแรกๆ มักจะฟังดูไม่เข้าท่า แต่ก็ไม่ควรมองข้ามเพราะความคิดแรกๆ มันต่อยอดไปสู่ไอเดียอื่นที่เป็นเป้าหมายในที่สุด” นักสร้างแผนที่ความคิด กล่าว
อยากเรียนเก่งต้องหัดเขียนมายแมพ
เครื่องมือไม่มีอะไรมาก แค่กระดาษเปล่าหนึ่งแผ่น ดินสอหนึ่งแท่ง เผื่อยางลบไว้ด้วยก็ดี ถ้าพร้อมแล้วมาเริ่มวาดแผนที่ความคิดกันเลย!
ใครๆ ก็อยากเรียนเก่งเป็นแชมป์เหรียญทองโอลิมปิกวิชาการ อยากฉลาดเหมือนนักวิทยาศาสตร์ชื่อก้องโลก อยากพูดโน้มน้าวใจคนเก่งอย่างนักขายมืออาชีพ อยากเป็นพิธีกรที่พูดได้คล่องแคล่ว ไม่ติดขัด แถมยังโชว์มุกขำเรียกเสียงฮา ทุกคนฝึกฝนได้และทำได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีไอคิว 180 หรือมีมันสมองระดับอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
ขอแค่จัดระเบียบความคิดให้เป็นระบบก็พอ พูดง่าย แต่ทำให้ได้ต้องฝึกฝน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ไม่เคยฝึกจัดลำดับการทำงาน หรือพวกที่คิดฟุ้งซ่าน นึกจะทำก็ทำ นึกจะเลิกทำก็เลิก
ดำเกิง ไรวา วิทยากรจากบริษัท บูซาน ประเทศไทย จำกัด แนะเทคนิคเริ่มต้นฝึกฝนกระบวนการ "สร้างแผนที่ความคิด" ด้วยเกมง่ายๆ สามารถนำไปประยุกต์ใช้เล่นกันในครอบครัว พี่น้องได้ เหมือนกับรายการเกมโชว์ทางทีวี
ลองสมมุติสถานที่เที่ยวขึ้นมาสักแห่งจะเป็นหัวหิน ดอยอินทนนท์ หรือวางแผนกางเต็นท์เขาใหญ่ก็ได้ จากนั้นให้ทุกคนที่ร่วมเล่นเกมช่วยกันคิดว่าควรจะเอาของอะไรติดตัวไปบ้าง ไม่ว่าจะเป็น เต็นท์ เสื้อกันหนาว รองเท้าผ้าใบ ไฟฉาย จนกระทั่งได้สิ่งของทั้งหมดกว่า 30 ชิ้น จดลงบนกระดาษ แล้วคว่ำกระดาษลงบนโต๊ะให้ทายสิ่งของทั้ง 30 ชิ้นตามลำดับ
การฝึกคิดแบบมายด์แม็พให้เริ่มถกกันตั้งแต่สถานที่เที่ยว และของที่จะนำไปเป็นชิ้นแรก เรียงลำดับมาจนถึงชิ้นสุดท้าย และแทนที่จะเขียนชื่อสิ่งของให้วาดเป็นรูปสัญลักษณ์แทนสิ่งของลงบนกระดาษเปล่าไม่มีเส้น
“เด็กไทยส่วนใหญ่ถูกสอนมาตั้งแต่อายุ 6 ขวบ ให้จดบันทึกข้อมูลทั้งหมดเรียงตามลำดับ สิ่งที่ได้คือข้อมูลที่ครบถ้วน แต่จำยาก ยิ่งจดไม่เป็นหมวดหมู่ยิ่งหายาก"
เครื่องมือจัดระเบียบความคิดที่เรียกว่า มายด์แม็พจึงช่วยจำ ช่วยฝึกคิดได้ตลอดเวลา และยังสนุกกับการคิด สนุกกับการจำ ยิ่งสนุกยิ่งอยากจำ อยากคิด
มายด์แม็พเป็นผลงานของนักจิตวิทยาชาวอังกฤษ ชื่อ โทนี บูซาน เขาให้ความหมายของ Mind Map ไว้เมื่อปี 2517 ว่าคือแผนที่เส้นทางอัจฉริยะ เปรียบเสมือนลายแทงที่นำไปสู่การจดจำและการเรียบเรียง จัดระเบียบข้อมูลตามธรรมชาติการทำงานของสมองตั้งแต่ต้น หากสร้างแผนที่ความคิดได้การจำและการฟื้นความจำเป็นเรื่องขี้ปะติ๋ว หรือเรียกข้อมูลกลับมาในภายหลังทำได้ง่าย ถูกต้องแม่นยำมากกว่าการใช้เทคนิคการจดบันทึกแบบเดิม หรือท่องเป็นนกแก้วนกขุนทอง
"เคยนึกอะไรออกเวลาอาบน้ำ หรือระหว่างขับรถ คิดว่าจำได้ แต่พอไม่ได้จด มานึกอีกทีก็ลืมคิดไม่ออก แต่พอลองนึกออกมาเป็นภาพ ช่วยให้นึกได้เร็วขึ้น"
ดำเกิงเริ่มทำความรู้จักกับมายด์แม็พจริงจัง ตั้งแต่สมัยเรียนปริญญาโท คณะเศรษฐศาสตร์ โดยคิดหาวิธีทำอย่างไรให้เรียนเก่ง จดจำเนื้อหาในหนังสือได้อย่างแม่นยำ เริ่มต้นจากหนังสือของอาจารย์ธัญญา ผลอนันต์ ผู้ที่นำเทคนิคมายด์แม็พจากประเทศอังกฤษเข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทยเป็นคนแรก จากนั้นก็ใช้มายด์แม็พมาตลอด 8 ปี กระทั่งปัจจุบัน พบว่าตนมีทักษะพูดโน้มน้าวใจคน โดยใช้เวลาไม่กี่นาที สามารถจำคนจำนวนมาก ได้อย่างแม่นยำ อย่างไรก็ตามสิ่งที่เกิดขึ้นล้วนมาจากการฝึกฝน
“คนที่คิดแบบมายด์แม็พจะมีความคิดที่แตกแขนงไปได้มากกว่า จำได้ สื่อสารเรียนรู้ได้เร็วกว่า มายด์แม็พเป็นเครื่องมือช่วยฝึกสมองความจำได้อย่างดี”
แผนที่ความคิดไม่ได้ใช้เพื่อฝึกจดจำตำราได้เท่านั้น แต่ยังนำไปประยุกต์ใช้กับงานได้หลายด้าน การพูด นำเสนองาน หากจัดลำดับความคิดเป็นมายด์แม็พ ช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงาน ทำให้ระบบงานแข็งแรงขึ้น วางแผน เป้าหมาย สื่อสารกันเองในองค์กร นำเสนอได้อย่างมีประสิทธิภาพ เตรียมการพูด เจรจาต่อรองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
“ผมว่าคนหันมาเขียนมายด์แม็พเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในยุคของข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก และเราต้องการจัดการกับข้อมูลเยอะในเวลาที่มีอยู่จำกัด” เขากล่าว และว่า มายด์แม็พช่วยได้จิปาถะไม่ติดขัดอายุอานาม
ดำเกิงบอกว่า มายด์แม็พสามารถประยุกต์ใช้ได้ร้อยแปดพันประการไม่ว่าจะเป็น เทคนิคการจำ ระบบการทำงาน วางแผน ตั้งเป้าหมาย การสื่อสาร การนำเสนอ ระดมสมอง ตัดสินใจ เจรจาต่อรอง การบริหารโครงการ ตลอดแก้ปัญหาความขัดแย้งในองค์กร เป็นต้น
"ผมคิดว่าสิ่งที่จับต้องได้ในชีวิตประจำวันสามารถนำมาเขียนเป็นมายด์แม็พได้หมด” วิทยากรมายด์แม็พกล่าว
ถึงแม้ว่าเทคนิคมายด์แม็พสามารถหาอ่าน และเรียนรู้ได้หลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ แม้แต่คลิปวิดีโอบนยูทูป เพียงพิมพ์คำค้นว่า Mind map ลงไป คลิปตัวอย่างฝึกมายด์แม็พออกมาเป็นพะเรอเกวียน แต่ก็ใช่ว่าดูคลิป หรือเข้าคอร์สแล้วจะทำได้เชี่ยวชาญกันข้ามชั่วโมง การเขียนแผนที่ความคิดเป็นเรื่องที่ต้องฝึกฝนกันอยู่เสมอจนเป็นไปตามธรรมชาติ
สำหรับคนเริ่มต้นอาจใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์มายด์แม็พช่วยเรียนรู้กระบวนการได้ง่าย สะดวก และเป็นระเบียบ ข้อมูลมีหลายมิติ สามารถโยกย้าย แก้ไขข้อผิดพลาด ส่งต่อเป็นไฟล์ผ่านอีเมลได้อย่างรวดเร็ว
เทคนิคสำคัญสำหรับการเขียนมายด์แม็พ ดำเกิงมองว่า ผู้ใช้ต้องฝึกจินตนาการ ฝึกเชื่อมโยงภาพกับข้อมูล การเขียนมายด์แม็พโดยใช้ภาพสื่อสารแทนข้อความ จะช่วยให้การจดจำแม่นยำยิ่งขึ้น
เริ่มต้นจากวางกระดาษในแนวนอนให้กวาดสายตาดูได้อย่างสะดวก วาดโลโก้ของตัวเองไว้ตรงกึ่งกลางของกระดาษ จากนั้นค่อยๆ ลากเส้นเชื่อมโยงความคิดจากตัวเองออกมาเป็นเส้นรัศมี สำหรับคำที่ใช้ ควรเป็นคำที่สั้น ได้ใจความ ไม่เยิ่นเย้อ เพราะพื้นที่บนหน้ากระดาษของมายด์แม็พมีค่ามหาศาล เพราะสามารถย่อยข้อมูลที่มีหลายหน้าให้อยู่ในหน้าเดียว วิธีการอ่านมายด์แม็พให้อ่านจากด้านในไปด้านนอก
“มายด์แม็พเปรียบได้กับ มีดพก Swiss Army ที่มีอุปกรณ์เล็กๆ ซ้อนอยู่ โดยหลายคนใช้มายด์แม็พเป็นเครื่องมือสำคัญระดมสมอง แม้ความคิดแรกๆ มักจะฟังดูไม่เข้าท่า แต่ก็ไม่ควรมองข้ามเพราะความคิดแรกๆ มันต่อยอดไปสู่ไอเดียอื่นที่เป็นเป้าหมายในที่สุด” นักสร้างแผนที่ความคิด กล่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น